WELCOME

ขอต้อนรับทุกท่านครับ
วันนี้ผมอยากจะบันทึกสิ่งต่าง ๆที่ได้รับรู้รับทราบเอาไว้ เผื่อจะได้ทบทวนความจำ
และเป็นเวทีแลกเปลี่ยนกับเพื่อนๆที่มีความสนใจในเรื่องราวที่เกี่ยวกับการบริหาร
แต่อย่าคาดหวังอะไรจากบลอกของผมนะครับ เพราะไม่ได้มุ่งหวังจะให้เป็นแหล่งอ้างอิงในทางวิชาการ เผลอๆ ไม่รู้ว่าที่พูดไปเขียนไปจะผิดถูกแค่ไหนก็ไม่อาจรับประกันได้
เอาเป็นว่าแค่เอาไว้แลกเปลี่ยนกันก็แล้วกันนะครับ

วันเสาร์ที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2552

ความรู้ในการบริหาร

เอกสารที่เกี่ยวข้อง

* โครงสร้างกระทรวงศึกษาธิการ
* โรงเรียนนิติบุคคล1
* โรงเรียนนิติบุคคล2
* กฎกระทรวงว่าด้วยหลักเกณฑ์การกระจายอำนาจ 2550
* ประกาศสพฐ. การกระจายอำนาจ2550
* มาตรฐานตำแหน่ง

สมรรถนะการบริหาร

* สมรรถนะต่างๆ
* พจนานุกรมสมรรถนะ
* ตัวอย่างแบบประเมินสมรรถนะ
* การพัฒนาสมรรถนะผู้บริหาร

การบริหารการศึกษา

* หลักและทฤษฎีการบริหารการศึกษา
* ทฤษฎีแรงจูงใจและมาสโลว์
* ปรัชญาการศึกษา
* SBM
* งานวิจัยSBM
* ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
* การบริหารความเสี่ยง
* การบริหารการเปลี่ยนแปลง
* PDCA
* POSDCORP
* Leadership
* TQM
* วิสัยทัศน์
* รายงานวิจัย บทบาทผู้บริหารสถานศึกษา

ความรู้ด้านงานบริหารทั่วไป

* หลักเกณฑ์การอยู่เวรรักษาการณ์
* ความรู้เรื่องระบบข้อมูลสารสนเทศ
* งานสารบรรณ
* ระเบียบงานสารบรรณ 2526
* ระเบียบงานสารบรรณ2548
* การสรรหาคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน
* เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา
* ระเบียบหลักฐานการรับนักเรียน 2548
* กิจกรรมสหกรณ์โรงเรียน
* ดาวน์โหลดเอกสารระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน
* การลงโทษนักเรียน
* แนะแนว
* หลักเกณฑ์ที่พักอาศัยทางราชการ2551
* School Mapping
* การพัฒนาองค์กร
* การจัดตั้ง รวม เลิกสถานศึกษา
* การควบคุมภายใน

ลองลิงค์



ความรู้ด้านงานวิชาการ

* มาตรฐานการศึกษาแห่งชาติ
* มาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน
* คู่มือการบริหารงานวิชาการ
* การบริหารงานวิชาการ
* หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน2551
* ตัวอย่างการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา
* ปพ.1-9
* การแก้ไขวันเดือนปีเกิดนักเรียน
* ศูนย์ปฎิบัติการGPA
* ตัวอย่างคู่มือการวัดผลและประเมินผล
* ตัวอย่างระเบียบการวัดผลของสถานศึกษา
* แฟ้มสะสมผลงาน
* การวิจัยในชั้นเรียน
* ชุดฝึกวิจัยในชั้นเรียน
* การวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา
* ตัวอย่างชื่อผลงานวิจัย
* การประกันคุณภาพการศึกษา
* การพัฒนาแหล่งเรียนรู้

ความรู้ด้านแผนงานและงบประมาณ

* การบริหารงบประมาณ
* พระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ2502
* ระเบียบว่าด้วยการบริหารงบประมาณ 2548
* ระเบียบว่าด้วยการบริหารงบประมาณ2551
* พรบ.งบประมาณรายจ่าย 2552
* ระบบงบประมาณแบบSPBBS
* การจัดทำงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงาน
* ระบบGFMIS
* ระเบียบพัสดุ2535
* ระเบียบพัสดุ(แก้ไขฉบับ2 3 4 5)
* ระเบียบพัสดุ2545
* ระเบียบ พัสดุด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ 2549
* แนวทางการจัดทำแผนกลยุทธ์
* การบริหารรายได้สถานศึกษานิติบุคคล
* การเก็บรักษาเงิน 2551
* ค่าสอนพิเศษ
* เงินบำรุงการศึกษา
* ค่าใช้จ่ายฝึกอบรม
* จ้างเหมาบริการ
* ค่าเช่าบ้าน
* การเบิกค่าเช่าบ้านผ่อนชำระการเคหะแห่งชาติ
* เงินสวัสดิการการศึกษาบุตร
* ค่าใช้จ่ายไปราชการ
* ค่ารักษาพยาบาล
* ลูกจ้างชั่วคราว
* แนวทางการการเบิกจ่ายเงินอุดหนุน
* การบริหารงบประมาณเงินอุดหนุนทั่วไป
* การเบิกจ่ายเงินอุดหนุน
* เงินอุดหนุนรายหัว
* เงินปัจจัยพื้นฐาน
* เงินรายได้สถานศึกษา
* เงินบริจาค
* เงินอาหารกลางวัน

ความรู้ด้านงานบุคคล

* การวางแผนอัตรากำลัง
* การกำหนดตำแหน่ง
* หลักเกณฑ์และวิธีการเกลี่ยอัตรากำลัง
* หลักเกณฑ์และวิธีการเตรียมความพร้อมและพัฒนาอย่างเข้ม
* การเลื่อนขั้นเงินเดิอน
* มอบอำนาจเกี่ยวกับพนักงานราชการ
* หลักเกณฑ์การขออนุญาตไปต่างประเทศ
* การลาทุกประเภท
* ระเบียบการลา
* การลาศึกษาต่อ
* การประเมินผลการปฏิบัติงาน
* สมุดบันทึกความดี
* การบันทึกความดี
* ตัวอย่างแบบประเมินประสิทธิภาพ
* การพัฒนาผู้ใต้บังคับบัญชา
* การดำเนินการทางวินัย
* การร้องทุกข์
* เครื่องราชอิสริยาภรณ์
* คู่มือใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ
* มาตรฐานวิชาชีพและจรรยาบรรณของวิชาชีพ

วันอาทิตย์ที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2552

รูปแบบการสอนใหม่ : การปรับกลยุทธ์การบริหารงานวิชาการ

รูปแบบการสอนใหม่ : การปรับกลยุทธ์การบริหารงานวิชาการ
เรียบเรียงโดย
นายพงกะพรรณ ตะกลมทอง
นายขจรเกียรติ มานิกลักษณ์
Mr.Intong Leusinsay
Ms.Sisouk Vongvichit
ความหมายการบริหารงานวิชาการ
การบริหารงานวิชาการเป็นงานที่สำคัญสำหรับผู้บริหารสถานศึกษา โดยเฉพาะอย่างยิ่งเป็นงานที่จะต้องปรับปรุงคุณภาพการเรียนการสอน ซึ่งเป็นจุดมุ่งหมายหลักของสถานศึกษาและเป็นเครื่องชี้ความสำเร็จ และความสามารถของผู้บริหาร
การบริหารงานวิชาการ หมายถึง การบริหารกิจกรรมทุกชนิดในสถานศึกษา หรือโรงเรียนเกี่ยวกับการปรับปรุงพัฒนาการเรียนการสอนให้ได้ผลดี และมีประสิทธิภาพที่สุด เพราะเป็นหน้าที่ของสถานศึกษาทุกแห่ง คือ การให้ความรู้ทางด้านวิชาการแก่ผู้เรียน(ภิญโญ สาธร,2526: 324) การบริหารกิจกรรมทุกชนิดที่เกี่ยวกับการพัฒนา และปรับปรุงการเรียนการสอนให้ได้ผลดีและมีประสิทธิภาพที่สุด หรือการบริหารที่ให้พลเมืองมีความรู้ มีคุณธรรม สามารถประกอบสัมมาอาชีพ ดำรงตนเป็นพลเมืองดี ช่วยกันพัฒนาชาติให้เจริญก้าวหน้าต่อไป(อุทัย ธรรมเตโช,2531: 6) การบริหารวิชาการ
ประกอบด้วยงานหลายอย่าง สิ่งสำคัญของงานด้านวิชาการ คือ หลักสูตรเป็นตัวกำกับงานด้าน
วิชาการ ขึ้นอยู่กับความสามารถของผู้นำ ในการนำไปใช้ในแต่ละสถานศึกษาจึงแตกต่างกันไป การจัดโปรแกรมการศึกษาขึ้นกับปัจจัยหลายอย่าง เช่น บุคลากร งบประมาณ วัสดุอุปกรณ์ รวมทั้งผู้เรียนด้วย (สงวน สุทธิเลิศอรุณ,2533 : 133) การบริหารสถานศึกษาโดยมีการจัดกิจกรรมทุกสิ่งทุกอย่างที่เกี่ยวกับการปรับปรุง การพัฒนาการเรียนการสอนให้ได้ผลดี และมีประสิทธิภาพให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับผู้เรียน (ปรียาพร วงศ์อนุตรโรจน์ ,2535 : 16)

ความสำคัญของการบริหารงานวิชาการ
งานวิชาการเป็นงานที่มีความสำคัญในการจัดระบบงานให้รัดกุม และมีการดำเนินงานอย่างมีประสิทธิภาพ ฉะนั้น จึงมีนักการศึกษาได้ให้ความสำคัญของงานวิชาการไว้ดังนี้
งานวิชาการเป็นหัวใจของโรงเรียน เป็นชีวิตจิตใจของสถาบันทีเดียว ส่วนงานด้านอื่น ๆ เป็นองค์ประกอบที่จะทำให้สถาบันดำเนินไปด้วยความราบรื่นเท่านั้น(พนัส หันนาคินทร์,2524 : 235)
ผู้บริหารการศึกษา ทุกคนควรจะรับผิดชอบเป็นผู้นำของครูในด้านวิชาการเป็นอันดับแรก เพราะหน้าที่ของโรงเรียนหรือสถาบันการศึกษาทุกแห่ง คือ การให้ความรู้แก่นักเรียนในด้านวิชาการ โดยการทำงานร่วมกับครู กระตุ้นเตือนครูให้คำแนะนำครู และประสานงานให้ครูทุกคนทำงานร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพในการสอน(ภิญโญ สาธร, 2526 : 232 ) งานวิชาการเป็นงานหลักของการบริหารสถานศึกษา ไม่ว่าสถานศึกษาจะเป็นประเภทใด มาตรฐานและคุณภาพของสถานศึกษาจะพิจารณาได้จากผลงานด้านวิชาการ เนื่องจากงานวิชาการเกี่ยวข้องกับหลักสูตร การจัดโปรแกรมการศึกษา และการจัดการเรียนการสอน ซึ่งเป็นหัวใจของสถานศึกษาซึ่งอาจจะเกี่ยวข้องทางตรงหรือทางอ้อม ก็อยู่ที่ลักษณะของงานนั้น(ปรียาพร วงศ์อนุตรโรจน์, 2535 : 15 )
สมิธ (Smith,1961) ได้ศึกษาและจัดลำดับความสำคัญของงานวิชาการไว้เป็นอันดับแรกงานในความรับผิดชอบของผู้บริหารแบ่งเป็น 7 ประเภท ดังนี้
งานบริหารงานวิชาการ ร้อยละ 40
งานบริหารบุคลากร ร้อยละ 20
งานบริหารกิจการนักเรียน ร้อยละ 20
งานบริหารการเงิน ร้อยละ 5
งานบริหารอาคารสถานที่ ร้อยละ 5
งานบริหารความสัมพันธ์กับชุมชน ร้อยละ 5
งานบริหารทั่วไป ร้อยละ 5
ดังนั้นอาจสรุปได้ว่า งานวิชาการถือว่าเป็นหัวใจของการบริหารการศึกษา เพราะจุดมุ่งหมายของสถานศึกษาก็คือ การจัดการศึกษาให้มีคุณภาพ ซึ่งขึ้นอยู่กับงานวิชาการทั้งสิ้น งานวิชาการเป็นกิจกรรมการจัดการเกี่ยวกับงานด้านหลักสูตร การนำหลักสูตรไปใช้ แบบเรียน งานการเรียนการสอน งานสื่อการเรียนการสอน งานวัดผลและประเมินผล งานห้องสมุด งานนิเทศการศึกษา งานวางแผนการศึกษา และงานประชุมอบรมทางวิชาการ เพื่อส่งเสริมให้ผู้เรียนบรรลุจุดหมายของการศึกษาที่กำหนดไว้อย่างมีประสิทธิภาพสูง
จะเห็นได้ว่าการบริหารงานวิชาการนับเป็นงานที่สำคัญของโรงเรียน เป็นหน้าที่หลักของโรงเรียน ถือเป็นหัวใจของการบริหารโรงเรียน โรงเรียนจะดีหรือไม่ขึ้นอยู่กับงานวิชาการของโรงเรียน ที่จะสร้างนักเรียนให้มีคุณภาพ มีความรู้ มีจริยธรรม และคุณสมบัติตามที่ต้องการ เพื่อนำไปใช้ในการดำรงชีวิตในสังคมต่อไปได้เป็นอย่างดี


ขอบข่ายของการบริหารงานวิชาการ
งานวิชาการมีขอบข่ายครอบคลุมเกี่ยวกับงานด้านหลักสูตร และการเรียนการสอน ตั้งแต่การวางแผนเกี่ยวกับงานวิชาการ การจัดดำเนินงาน เกี่ยวกับการเรียนการสอน การจัดบริการการสอน ตลอดจนการวัด และประเมินผล รวมทั้งติดตามผล และสื่อการสอนรวมไปถึงการพัฒนาผู้สอนตลอดจนการดำเนินกิจการของโรงเรียนจะต้องเป็นไปตามหลักสูตร และระเบียบพิธีการของการเรียนการสอน จำเป็นที่จะต้องเปลี่ยนแปลงหลักสูตรให้สอดคล้องกับความต้องการของสังคมทุกระยะ ด้วยการจัดเนื้อหาวิชาให้ทันสมัย บางครั้งก็มีการเพิ่มวิชาใหม่ ๆ เข้าไปด้วยผลที่เกิดขึ้นกับนักเรียนอย่างแท้จริงนั้น เกิดจากการเรียนการสอน ดังนั้น เมื่อหลักสูตรเปลี่ยนก็จำเป็นต้องอบรมครูตามไปด้วย เพราะการใช้หลักสูตรในโรงเรียนจะมีส่วนเกี่ยวโยงไปถึงการจัดตารางสอน การจัดชั้นเรียน วิธีสอน การใช้อุปกรณ์การสอนและการประเมินผลด้วย (ก่อ สวัสดิพาณิชย์, 2535 : 83) ถ้ามองในด้านของงานสถานศึกษา การบริหารงานวิชาการ ได้แก่ งานควบคุมดูแลหลักสูตร การสอน อุปกรณ์การสอน การจัดการเรียน คู่มือครู การจัดชั้นเรียน การจัดครูเข้าสอน การปรับปรุงการเรียนการสอน การฝึกอบรมครู การนิเทศการศึกษา การเผยแพร่งานวิชาการ การวัดผลการศึกษา การศึกษาวิจัย การประเมินมาตรฐานสถานศึกษาเพื่อปรับปรุงคุณภาพ และประสิทธิภาพสถานศึกษา(ปรียาพร วงศ์อนุตรโรจน์ , 2535 : 59)
ดังนั้นจะเห็นได้ว่า งานวิชาการเป็นงานที่มีขอบข่ายครอบคลุมหลายด้าน อันจะก่อให้เกิดประโยชน์ส่งเสริมให้เกิดประสิทธิภาพแก่ผู้เรียนทุกด้าน ซึ่งสามารถสรุปขอบเขตของงานวิชาการได้ดังนี้ งานการจัดหลักสูตร งานการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน งานการใช้วิธีการสอน และการใช้สื่อการเรียนการสอน งานการวัดผลการเรียนการสอน และการนิเทศการสอน

หลักการบริหารงานวิชาการ
ในการบริหารงานวิชาการจะต้องมีหลักการและวิธีการดำเนินงาน เพื่อให้เกิดความ
คล่องตัวในการบริหาร ดังนั้นในหลักการเบื้องต้นของการบริหารจึงต้องมีข้อความชัดเจนในเรื่องต่าง ๆ ดังนี้
1. ยึดหลักให้สถานศึกษาจัดทำหลักสูตรสถานศึกษาให้เป็นไปตามกรอบหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานและสอดคล้องกับสภาพปัญหาและความต้องการของชุมชนและสังคมอย่างแท้จริง โดยมีครู ผู้บริหาร ผู้ปกครอง และชุมชนมีส่วนร่วม
2. มุ่งส่งเสริมสถานศึกษาให้จัดกระบวนการเรียนรู้ โดยถือว่าผู้เรียนมีความสำคัญที่สุด
3. มุ่งส่งเสริมให้ชุมชนและสังคมมีส่วนร่วมในการกำหนดหลักสูตรกระบวนการเรียนรู้ รวมทั้งเป็นเครือข่ายและแหล่งการเรียนรู้
4. มุ่งจัดการศึกษาให้มีคุณภาพและมาตรฐาน โดยจัดให้มีดัชนีชี้วัดคุณภาพการจัดหลักสูตร
และกระบวนการเรียนรู้ และสามารถตรวจสอบคุณภาพการจัดการศึกษาได้ทุกช่วงชั้นทั้งระดับเขต
พื้นที่การศึกษาและสถานศึกษา
5. มุ่งส่งเสริมให้มีการร่วมมือเป็นเครือข่าย เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและคุณภาพในการจัดและพัฒนาคุณภาพการศึกษา

ขอบข่ายและภารกิจงานวิชาการ ตามที่กำหนดในกฎกระทรวงศึกษาธิการ
1. การพัฒนาหรือการดำเนินการเกี่ยวกับการให้ความเห็นการพัฒนาสาระ
หลักสูตรท้องถิ่น
2. การวางแผนงานด้านวิชาการ
3. การจัดการเรียนการสอนในสถานศึกษา
4. การพัฒนาหลักสูตรของสถานศึกษา
5. การพัฒนากระบวนการเรียนรู้
6. การวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาในสถานศึกษา
7. การวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาในสถานศึกษา
8. การพัฒนาและส่งเสริมให้มีแหล่งเรียนรู้
9. การนิเทศการศึกษา
10. การแนะแนว
11. การพัฒนาระบบประกันคุณภาพภายในและมาตรฐานการศึกษา
12 การส่งเสริมชุมชนให้มีความเข้มแข็งทางวิชาการ
13. การประสานความร่วมมือในการพัฒนาวิชาการกับสถานศึกษาและองค์กรอื่น
14. การส่งเสริมและสนับสนุนงานวิชาการแก่บุคคล ครอบครัว องค์กร
หน่วยงาน สถานประกอบการและสถาบันอื่นที่จัดการศึกษา
15. การจัดทำระเบียบและแนวปฏิบัติเกี่ยวกับงานด้านวิชาการของสถานศึกษา
16. การคัดเลือกหนังสือ แบบเรียนเพื่อใช้ในสถานศึกษา
17. การพัฒนาและใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา



การบริหารงานวิชาการ
ในการบริหารงานวิชาการจะต้องมีหลักการและวิธีการดำเนินงาน เพื่อให้เกิดความ
คล่องตัวในการบริหาร ดังนั้นในหลักการเบื้องต้นของการบริหารจึงต้องมีข้อความชัดเจน
ปรียาพร วงศ์อนุตรโรจน์(2535: 15) ได้กล่าวถึงหลักการในการบริหารงานวิชาการ
ไว้ดังนี้
1. หลักแห่งประสิทธิภาพ หมายถึง การได้มีผลผลิตเพิ่มขึ้นโดยไม่เพิ่มการลงทุน
คือ นักเรียนนักศึกษาสามารถสำเร็จการศึกษาตามกำหนดของหลักสูตร โดยไม่ลาออกกลางคัน
เรียนเกินเวลาและช้ากว่ากำหนด
2. หลักแห่งประสิทธิผล หมายถึง ผลผลิตได้ตามจุดมุ่งหมายที่วางไว้ นั่นคือ นักเรียน
นักศึกษามีคุณภาพตามจุดมุ่งหมายของหลักสูตร มีความรู้ความสามารถ ทักษะ คุณภาพ และ
การจัดการได้
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา สามารถดำเนินการบริหารงานวิชาการได้ตามภาระงาน
ที่กฎกระทรวงศึกษาธิการ และประกาศสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานกำหนด
ยกเว้นภาระงานดังต่อไปนี้ มิใช่อำนาจหน้าที่ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ได้แก่
1. การจัดการเรียนการสอนในสถานศึกษา
2. การวัดผล ประเมินผล และดำเนินการเทียบโอนผลการเรียน
3. การคัดเลือกหนังสือ แบบเรียนเพื่อใช้ในสถานศึกษา
ส่วนการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษา สถานศึกษาประเภทที่หนึ่งและประเภทที่สอง
ก็สามารถดำเนินการบริหารงานวิชาการได้ทุกรายการตามภาระงานที่กฎกระทรวงศึกษาธิการ และประกาศสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานกำหนดเช่นกัน

รูปแบบการสอนใหม่ : การปรับกลยุทธ์การบริหารงานวิชาการ
จุดมุ่งหมายการปฏิรูปการเรียนรู้เป็นหัวใจสำคัญในกระบวนการปฏิรูปการศึกษา ดังนั้นสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา จึงได้ดำเนินงานโครงการเพื่อพัฒนาองค์ความรู้ด้านการเรียนรู้เพื่อนำไปสู่การพัฒนาคุณภาพผู้เรียน ให้เป็นคนไทยที่มีคุณภาพ โครงการที่สำคัญคือโครงการครูต้นแบบในปี พ.ศ. ๒๕๔๑ จนถึงปี พ.ศ. ๒๕๔๔ มีครูต้นแบบจำนวนทั้งสิ้น ๕๘๖ คน ครูเครือข่ายของครูต้นแบบจำนวน ๘,๘๔๘ คน รวมครูต้นแบบและครูเครือข่ายทั้งสิ้น ๙,๔๓๔ คน กลุ่มครูดังกล่าวได้เป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงเพื่อปฏิรูปการเรียนการสอนกระจายอยู่ในทุกจังหวัดของประเทศ ครูกลุ่มนี้มีภารกิจสำคัญ คือพัฒนาคุณภาพการเรียนการสอนให้ส่งผลต่อคุณภาพผู้เรียน ผลการดำเนินงานโครงการครูต้นแบบทำให้เกิดการค้นพบองค์ความรู้ด้านรูปแบบการเรียนสอนที่ได้จากการปฏิบัติของครู จำนวน ๑๕ รูปแบบ ซึ่งมีความหลากหลายมาก ดังนั้น สำนักงานฯ จึงได้ดำเนินโครงการวิจัยและพัฒนารูปแบบการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ โดยนำรูปแบบการเรียนรู้ของครูต้นแบบมาวิจัยและพัฒนาต่อเนื่อง เพื่อให้ได้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่มีความชัดเจนเหมาะสมกับบริบทของสถานศึกษาสำนักงานฯ ได้คัดเลือกรูปแบบการเรียนรู้ จำนวน ๙ รูปแบบมาวิจัยและพัฒนา นำไปทดลองในโรงเรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ๙๐ แห่งทั่วประเทศ ซึ่งมีความสอดคล้องกับมาตรา 22 การจัด
การศึกษาต้องยึดหลักผู้เรียนทุกคนมีความสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้ และถือว่าผู้เรียนว่าผู้เรียนมีความสำคัญที่สุด กระบวนการจัดการศึกษา ต้องส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาจามธรรมชาติและเต็มตามศักยภาพ และมาตรา 24 (2) และ (3) แห่งพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และแก้ไขเพิ่มเติ่ม (ฉบับที่2) พ.ศ.2545 หมวด 4 แนวการจัดการศึกษา ที่เน้นการฝึกทักษะกระบวนการคิด การฝึกทักษะการแสวงหาความรู้ด้วยตนเองจากแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลาย การฝึกปฏิบัติจริง และ
การประยุกต์ใช้ความรู้เพื่อการป้องกันและแก้ปัญหา โดยสำนักงานฯ สนับสนุนให้ครูต้นแบบ จำนวน
90 คน จากทุกภูมิภาควิจัยและพัฒนาแนวทางการจัดการเรียนรู้ร่วมกับผู้เชี่ยวชาญด้านการเรียนรู้จากสถาบันครุศึกษา ผลการดำเนินงานวิจัยและพัฒนาดังกล่าวพบว่า แนวทางการจัดการเรียนรู้ทั้ง 9 แนวทางสามารถใช้ได้ผลดีผลการเรียนรู้ของนักเรียนสูงขึ้น
แนวทางการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญทั้ง 9 แนวทางนี้ มิใช่เป็นแนวทางที่ตายตัว ผู้สอนสามารถปรับประยุกต์ใช้ได้ตามความเหมาะสมกับบริบทของตน ขั้นตอนการจัดการเรียนรู้รวมทั้งกิจกรรมการเรียนรู้นี้เป็นเพียงตัวอย่างให้ผู้สอนพิจารณาเพื่อพัฒนาตามความถนัดและความสนใจ แต่ละแนวทางการจัดการเรียนรู้สามารถผสมผสานให้สอดคล้องกับบริบทของสาระการเรียนรู้ หรือสถานการณ์ในชั้นเรียนได้ แนวทางการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญทั้ง 9 ดังกล่าว ข้างต้น ประกอบด้วย
1. การจัดการเรียนรู้จากแหล่งเรียนรู้
การใช้แหล่งเรียนรู้มีความสำคัญในกระบวนการจัดการเรียนรู้สำหรับผู้เรียนเพราะผู้เรียนสามารถเรียนรู้จากสภาพจริง การจัดการเรียนรู้จากแหล่งเรียนรู้จะเกี่ยวข้องกับบุคคล สถานที่ ธรรมชาติ หน่วยงาน องค์กร สถานประกอบการ ชุมชน และสิ่งแวดล้อมอื่น ๆ ซึ่งผู้เรียน ผู้สอนสามารถศึกษาค้นคว้าหาความรู้หรือเรื่องที่สนใจได้จากแหล่งเรียนรู้ทั้งที่เป็นธรรมชาติ และที่มนุษย์สร้างขึ้น ชุมชนและธรรมชาติเป็นขุมทรัพย์มหาศาลที่เราสามารถค้นพบความรู้ได้ไม่จบ ทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้และสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง ลักษณะเด่นของการจัดการเรียนรู้จากแหล่งเรียนรู้มีดังนี้

1.1 ผู้เรียนได้ปฏิบัติจริง ค้นคว้าหารความรู้ด้วยตนเอง
1.2 ผู้เรียนผู้เรียนได้ฝึกทำงานเป็นกลุ่มร่วมคิดร่วมทำร่วมแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ซึ่งจะ
ช่วยให้เกิดการเรียนรู้ และทักษะกระบวนการต่าง ๆ
1.3 ผู้เรียนได้ฝึกทักษะการสังเกตการณ์เก็บข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล การตีความและ การสรุปความ คิดแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ
1.4 ผู้เรียนได้ประเมินผลการทำงานด้วยตนเอง
1.5 ผู้เรียนสามารถนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้และเผยแพร่ความรู้ได้
1.6 ผู้สอนเป็นที่ปรึกษา ให้ความรู้ ให้คำแนะนำ ให้การสนับสนุน
2. การจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการพหุปัญญา มีลักษณะเด่นดังนี้
การจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการสู่พหุปัญญา เป็นการพัฒนากระบวนการเรียนการสอนในลักษณะเชื่อมดยงความสัมพันธ์ระหว่างสาระการเรียนรู้และความสามารถทางการเรียนรู้ที่มีอยู่ในตัวผู้เรียนตามทฤษฎีพหุปัญญาของโฮวาร์ด การ์เนอร์ (Howard Gardner) ซึ่งจำแนกไว้ 8 ด้าน ได้แก่ ด้านวาจา / ภาษา / ด้านดนตรี / จังหวะ ด้านตรรกะ / คณิตศาสตร์ ด้านทัศนสัมพันธ์ / มิติสัมพันธ์ ด้านร่างกาย /การเคลื่อนไหว ด้านธรรมชาติ ด้านการรู้จักตนเอง และด้านความสัมพันธ์กับผู้อื่น โดยมุ่นเน้นให้ผู้เรียนแต่ละคนได้พัฒนาศักยภาพและความสามารถในการแก้ปัญหารวมถึงการสร้างผลงานและเกิดผลลัพธ์การเรียนรู้อย่างมีความสุขและยั่งยืน
3. การจัดการเรียนรู้แบบประสบการณ์และที่เน้นการปฏิบัติ มีลักษณะเด่นดังนี้
3.1 ผู้เรียนได้มีโอกาสรับประสบการณ์ แล้วได้รับการกระตุ้นให้สะท้อนสิ่งต่าง ๆ ที่ได้
จากประสบการณ์ออกมาเพื่อพัฒนาทักษะใหม่ ๆ เจตคติใหม่ ๆ หรือวิธีการใหม่ ๆ
3.2 ใช้ทรัพยากรทั้ง 4 ด้าน คือ เวลา สถานที่ ภูมิปัญญาท้องถิ่นและสื่อการสอน เป็น
ตัวเชื่อมโยงให้ผู้เรียนก้าวสู่การเรียนรู้โลกรอบตัว
3.3 ผู้เรียนได้ประยุกต์ใช้ความคิด ประสบการ ความสามารถและทักษะต่าง ๆ ในเวลา
เดียวกัน จนสามารถสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง
3.4 ผู้เรียนได้แลกเปลี่ยนความรู้ ความคิดและประสบการณ์ระหว่างผู้เรียนด้วยกัน
4. การจัดการเรียนรู้แบบโครงงาน มีลักษณะเด่นดังนี้
การเรียนรู้แบบโครงงานเป็นกระบวนการแสวงหาความรู้ หรือการค้นคว้าหาคำตอบในสิ่งที่ผู้เรียนอยากรู้หรือสงสัยด้วยวีการต่าง ๆ เป็นวิธีการเรียนรู้ที่ผู้เรียนได้เลือกศึกษาตามความสนใจขอตนเองหรือของกลุ่มเป็นการตัดสินใจร่วมกัน จนได้ชิ้นงานที่สามารถนำผลการศึกษาไปใช้ได้ในชีวิตจริง การเรียนรู้แบบโครงงาน เป็นการเรียนรู้ที่ใช้เทคนิคหลากหลายรูปแบบนำมาผสมผสานกัน
ได้แก่ กระบวนการกลุ่ม การฝึกคิด การแก้ปัญหา การเน้นกระบวนการ การสอนแบบปริศนาความคิด และการสอนแบบร่วมกันคิด ทั้งนี้มุ่งหวังให้ผู้เรียนรู้เรื่องใดเรื่องหนึ่งจากความสนใจอยากรู้อยากเรียนของผู้เรียนเอง โดยใช้กระบวนการและวิธีการทางวิทยาศาสตร์ ผู้เรียนจะเป็นผู้ลงมือปฏิบัติกิจกรรมตาง ๆ เพื่อค้นหาคำตอบด้วยตนเอง เป็นการเรียนรู้ที่มุ่งเน้นให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จากประสบการณ์ตรงกับแหล่งเรียนรู้เบื้องต้น ผู้เรียนสามารถสรุปความรู้ได้ด้วยตนเอง ซึ่งความรู้ที่ผู้เรียนได้มาไม่จำเป็นต้องตรงกับตำรา แต่ผู้สอนจะสนับสนุนให้ผู้เรียนได้ศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติม จากแหล่งเรียนรู้ และปรับปรุงความรู้ที่ได้ให้สมบูรณ์
5. การเรียนรู้แบบส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ มีลักษณะเด่นดังนี้
5.1 ผู้เรียนมีความคิดที่อิสระ
5.2 ไม่มีรูปแบบตายตัว
5.3 ใช้ได้ทุกโอกาสทุกเวลา
5.4 ผู้เรียนได้ลงมือปฏิบัติจริง
5.5 มีการบูรณาการในตัวเอง
5.6 มีความยืดหยุ่นคล่องตัวสูง
5.7 เปิดทางเลือกให้ผู้เรียนหาคำตอบที่หลากหลาย
5.8 ชื่อรูปแบบมีนัยเชิงบวก ท้าทาย กระตือรือร้น
5.9 ส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม ในการคิดที่สันติสุข
5.10 ผู้เรียนสร้างชิ้นงานผลงานสิ่งประดิษฐ์แปลกใหม่ที่เป็นรูปธรรม
5.11 เชื่อมโยงความคิดที่เป็นระบบอย่างมีขั้นตอนจากง่ายไปยากและใกล้ตัว
ไปไกลตัว
5.12 นำไปจัดการเรียนรู้ได้กับทุกกลุ่มสาระและสามารถเชื่อมโยงได้กับรูปแบบการ
เรียนรู้อื่น ๆ
6. การจัดการเรียนรู้แบบสร้างองค์ความรู้ มีลักษณะเด่นดังนี้
การจัดการเรียนรู้แบบสร้างองค์ความรู้มีลักษณะเด่นคือ การให้ความสำคัญของกระบวนการเรียนรู้ของผู้เรียนและความสำคัญของความรู้ผู้สอนเปิดโอกาสให้ผู้เรียนเป็นผู้แสดงความรู้สร้างความรู้ด้วยตนเองผู้เรียนสังเกตสิ่งที่ตนอยากเรียนรู้แล้วค้นคว้าแสวงหาความรู้เพิ่ม เชื่อมดยงกับความรู้เดิม ประสบการณ์เดิม ผนวกกับความรู้ใหม่ จนสร้างสรรค์เกิดเป็นองค์ความรู้ใหม่ กล่าวโดยสรุปเป็นการเรียนรู้โดยให้ผู้เรียนลงมือปฏิบัติจริง ค้นหาความรู้ด้วยตัวเอง จนค้นพบความรู้และรู้จักสิ่งที่ค้นพบ เรียนรู้วิเคราะห์ต่อจนรู้จริง รู้ลึกซึ่งว่าสิ่งนั้นคืออะไรมีความสำคัญมากน้อยเพียงไร การเรียนรู้แบบนี้ส่งเสริมให้ผู้เรียนได้พัฒนาความสามารถในการคิด พร้อมทั้งฝึกทักษะทางสังคมที่ดี ได้ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างผู้เรียนกับผู้สอน
7. การจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน มีลักษณะเด่นดังนี้
การจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน เป็นกระบวนการจัดการเรียนรู้ที่เริ่มต้นจากปัญหา
ที่เกิดขึ้นโดยสร้างความรู้จากกระบวนการทำงานกลุ่ม เพื่อแก้ปัญหาหรือสถานการณ์เกี่ยวกับชีวิตประจำวันและมีความสำคัญต่อผู้เรียน ตัวปัญหาจะเป็นจัดตั้งต้นของกระบวนการเรียนรู้และเป็นตัวกระตุ้นการพัฒนาทักษะการแก้ปัญหาด้วยเหตุผลและการสืบค้นหาข้อมูลเพื่อเข้าใจกลไกของตัวปัญหาของตัวปัญหา รวมทั้งวิธีการแก้ปัญหา การเรียนรู้แบบนี้ มุ่งเน้นพัฒนาผู้เรียนในด้านทักษะและกระบวนการเรียนรู้ และพัฒนาผู้เรียนให้สามารถเรียนรู้โดยการชี้นำตนเองซึ่งผู้เรียนจะได้ฝึกฝนการสร้างองค์ความรู้โดยผ่านกระบวนการคิดด้วยการแก้ปัญหาอย่างมีความหมายต่อผู้เรียน
8. การจัดการเรียนรู้แบบกระบวนการแก้ปัญหา มีลักษณะเด่นดังนี้
การจัดการเรียนรู้แบบกระบวนการแก้ปัญหา มีลักษณะเด่นคือผู้เรียนเป็นผู้ปฏิบัติกิจกรรม มีชิ้นงานที่เป็นรูปธรรม ผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์กับผู้สอนและเพื่อน ได้พัฒนาทักษะการคิดแก้ปัญหา และตระหนักรู้ในปัญหาที่อาจเกิดขึ้น สามารถใช้ทักษะการคิดแก้ปัญหาที่พบ การจัดกรเรียนรู้แบบกระบวนการแก้ปัญหามีความสำคัญต่อการเรียนรู้เป็นอย่างมากเพราะเป็นการเรียนรู้จากปัญหาของชีวิตและมีความหมายต่อผู้เรียน ผู้เรียนได้ฝึกคิดด้วยตนเอง จากสถานการณ์หรือปัญหาที่น่าสนใจท้าทายให้คิดกระบวนการเรียนรู้ช่วยพัฒนาทักษะการคิดของผู้เรียนอย่างเป็นลำดับขั้นตอน โดยผ่านการวิเคราะห์อย่างเป็นระบบตามกระบวนการทางวิทยาศาสตร์การจักการเรียนรู้ใช้วิธีการที่หลากหลาย เช่น บทบาทสมมติ โครงงานการสืบสวย สอบสวน การศึกษานอกสถานที่ การเรียนรู้รูปแบบนี้จะกระตุ้นความสนใจของผู้เรียนให้ตั้งใจเรียนมากขึ้น พร้อมกับการเห็นประโยชน์ของการเรียนรู้ สร้างนิสัยใฝ่รู้รักการค้นคว้าหาความรู้และฝึกนิสัยให้เป็นคนมีเหตุผล และมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
9. การจัดการเรียนรู้แบบพัฒนากระบวนการคิดด้วยการใช้คำถาม หมวกความคิด 6 ใบ
มีลักษณะเด่นดังนี้
การจัดการเรียนรู้ด้วยการใช้คำถาม เป็นวิธีการจัดการเรียนรู้ที่มุ่งพัฒนาการคิดของผู้เรียน
ให้มีความสามารถด้านทักษะการคิดอย่างเป็นระบบ จุดเน้นคือการกระตุ้นผู้เรียนให้สามารถคิดและตั้งคำถามกระตุ้นให้เกิดความสนใจใฝ่รู้ และคิดหาคำตอบที่ถูกต้อง คำถามมีส่วนสำคัญที่จะจุดประกายให้ผู้เรียนฉุกคิด เกิดข้อสงสัย ใคร่รู้เพื่อแสวงหาคำตอบ และความรู้ต่อไปอย่างไม่มีที่สิ้นสุด การใช้คำถามจึงเป็นการกระตุ้นให้ผู้เรียนคิดเป็น คิดได้ การใช้คำถามเพื่อให้เกิดกระบวนการคิดมีหลากหลาย ในที่นี้จอนำเสนอการจัดกระบวนการเรียนรู้แบบพัฒนากระบวนการคิดด้วยการใช้คำถามหมวกความคิด 6 ใบ (Six Thinking Hats)
ลักษณะเด่นของการใช้คำถามหมวกความคิด 6 ใบ คือ การใช้ ’สีหมวก’ ได้แก่ หมวกสีขาว หมวกสีแง หมวกสีเหลือง หมวกสีดำ หมวกสีเขียว และหมวกสีฟ้า เป็นกรอบแนวทางในการตั้งคำถามเพื่อค้นหาคำตอบ ผู้เรียนสามารถค้นหาคำตอบจากเรื่องใดเรื่องหนึ่งได้อย่างรอบด้าน แลได้แสดงบทบาทการคิดในแง่มุมตามสีของหมวก สีของหมวกแต่ละใบจะมีความหมายที่บอกให้ทราบว่าผู้สอนต้องการให้ผู้เรียนคิดไปทางใด ซึ่งเป็นแนวทางการจัดการเรียนรู้ที่ช่วยเพิ่มพูนทักษะการคิดของผู้เรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
อนึ่ง หากท่านผู้อ่านบทความนี้มีความสนใจในรายละเอียดและเนื้อหาอย่างละเอียดของวิธีการสอนทั้ง 9 รูปแบบ ดังกล่าวข้างต้น สามารถสืบค้นได้จาก website สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา
ดังนี้
1. http://www.onec.go.th.
2. http://db.onec.go.th/publication/get_book.php?sub_book=3&name_sub=การเรียนรู้.


ปรียาพร วงศ์อนุตรโรจน์ (2535) . การบริหารงานวิชาการ.กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์สหมิตรออฟเซท.
ภิญโญ สาธร (2523) . หลักการบริหารการศึกษา.กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์วัฒนาพานิช.
สงวน สุทธิเลิศอรุณ (2535) . การบริหารการศึกษา.กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์อักษรบัณฑิต.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (2550). แนวทางการกระจายอำนาจการบริหารและ
การจัดการศึกษาให้คณะกรรมการ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา และสถานศึกษา ตาม กฎกระทรวง. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.
อุทัย ธรรมเตโช (2531) . หลักบริหารการศึกษา.กรุงเทพฯ : เจ้าพระยาการพิมพ์.
EW Smith (1961). The Educators Encyclopedia. New Jersey : Prentice Hall.
http://www.onec.go.th.
http://db.onec.go.th/publication/get_book.php?sub_book=3&name_sub=การเรียนรู้.
http://www.thapra.lib.su.ac.th/objects/thesis/fulltext/snamcn/Kanyamon_Indusuta/
Chapter2.pdf.

โรงเรียนดี เด่น ดัง

โรงเรียนดี เด่น ดัง

เจ้าของบทความนี้ได้มีโอกาสไปศึกษาดูงานที่โรงเรียน ดี เด่น ดัง แห่งหนึ่ง เป็นโรงเรียนระดับประถมศึกษาของรัฐบาลในต่างจังหวัด เป็น โรงเรียนที่ผู้ปกครองนิยมส่งลูกหลานเข้ามาเรียนกันมาก เนื่องจากมีชื่อเสียงในการส่งนักเรียนเข้าประกวดแข่งขันทั้งในระดับประเทศ และต่างประเทศ นอกจากนั้นนักเรียนที่จบชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 สามารถสอบเข้าเรียนต่อในชั้น มอ 1 โรงเรียนประจำจังหวัดได้ยกชั้น ได้รับงบสนับสนุนจากภาคเอกชนจำนวนมาก จากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับผู้บริหารและคณะครูพบว่าความสำเร็จดังกล่าวมาจากปัจจัย หลัก 3 ปัจจัย หรือ เรียกว่า ปัจจัย 3 ธรรม ดังนี้ ครับ
1. วัฒนธรรมขององค์กร โรงเรียนนี้เป็นโรงเรียนที่มีวัฒนธรรมเรื่องการเรียนการสอนมาเนิ่นนาน วัฒนธรรมดังกล่าว เกิดจากคณะครูและผู้บริหารในโรงเรียนได้ร่วมกันสร้างขึ้นมา
2. คุณธรรมของผู้บริหารโรงเรียน การคัดเลือกผู้บริหารที่โรงเรียนนี้ จะคัดเลือกจากผู้บริหารที่มีคุณธรรมสูง โดยศึกษาจากประวัติส่วนตัวและประวัติการรับราชการที่ผ่านมา จะไม่เอา “ใครก็ได้” มาเป็นผู้บริหารโรงเรียนนี้
3. จริยธรรมของครูผู้สอน ครูทุกคนในโรงเรียนจะทุ่มเทให้กับการเรียนการสอนอย่างเต็มที่ ใครไม่ทุ่มเทก็จะรู้สึก “แปลกแยก” ไปเอง ท่านรองฯ ที่รับผิดชอบงานวิชากาสร บอกว่า ที่โรงเรียนนี้ จะนิเทศโดยไม่ต้องนิเทศ คือ คุณครูทุกท่านจะรู้ตัวเอง ว่าหย่อนตรงใหน ควรจะพัฒนาอย่างไร
เรื่องที่ประทับใจอีกเรื่องของโรงเรียนนี้ คือ คณะครูจะไม่แบ่งพรรค แบ่งพวก เนื่องจากเป็นคณะครูที่มีวุฒิภาวะสูง และ ไม่มีเวลาว่างที่จะมาวิพากษ์วิจารณ์คนนั้นคนนี้
ที่นี้ ลองกลับมามองมุมตรงข้ามกันบ้างครับ โรงเรียนที่ 3 ธรรม อ่อนแอ ก็จะมีลักษณะ ดังนี้ ครับ
1. วัฒนธรรมขององค์กรอ่อนแอ โรงเรียนที่มีวัฒนธรรมของความไม่เสมอภาค ความไม่เป็นธรรม อันเกิดจาก “อคติ” ของผู้บริหาร โรงเรียนนี้ก็จะเป็นโรงเรียนที่เต็มไปด้วยบรรยากาศของการแก่งแย่งชิงดี เป็นโรงเรียน “ปราบเซียน” นั่นคือ ทั้ง ผู้บริหาร หรือ คุณครูท่านใดที่ย้ายเข้าไป ก็ไม่สามารถทำอะไรได้มาก
2. คุณธรรมของผู้บริหารโรงเรียนอ่อนแอ ผู้บริหารที่คุณธรรมอ่อนแอ เข้าไปอยู่โรงเรียนใหนก็พังทั้งระบบครับ ที่น่าเป็นห่วงและน่าเสียดายมากที่สุด คือ โรงเรียนดีๆ ที่เขามีวัฒนธรรรมอันดีงามเรื่องการเรียนการสอน พอย้ายผู้บริหารที่คุณธรรมอ่อนแอเข้าไปอยู่ จะเห็นผลการเปลี่ยนแปลงเร็วมากครับ แค่ปีแรก ความเปลี่ยนแปลงในทางลบก็เริ่มเห็น ปีต่อๆมาก็ไม่ต้องพูดถึงครับ สาละวันเตี้ยลง
3. จริยธรรมของครูผู้สอนอ่อนแอ ข้อ 1 กับ ข้อ 2 มันโยงมาถึงข้อ 3 ครับ ธรรมดาของคนก็เหมือนน้ำครับ คือ พร้อมที่จะไหลจากที่สูงลงสู่ที่ต่ำ ดังนั้น ถ้าครูในสภาพปกติ มีสิ่งแวดล้อมของการแก่งแย่งชิงดี ก็พร้อมที่จะเข้าไปแก่งแย่งชิงดีกับเขาด้วย และในสภาพดังกล่าว “ครูดีๆมีอุดมการณ์” เขาจะไม่เข้าไปคลุกด้วยครับ ยังคงทุ่มเทให้กับการเรียนการสอนอย่างเต็มที่ เพียงแต่ว่ามีความรู้สึก “ท้อ ถอย เบื่อหน่าย และ ปลง” บ้าง ในบางครั้ง คุณครูประเภทนี้มักจะเป็นครูดีที่ถูกลืมครับ
ทั้งหมดนี่ก็เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของเจ้าของบทความนะครับ เป็นเพียงมุมมองหนึ่งในวงแคบๆเท่านั้นเอง ถ้าไม่ถูกต้อง หรือ ไม่ถูกใจ ก็ต้องขออภัยด้วยครับ
ขอบคุณครับ

วันพฤหัสบดีที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2552

10 ปี กับการปฏิรูปการศึกษาที่ล้มเหลว

ภายหลังจากที่ได้คณะรัฐมนตรีชุดใหม่ คนแรกที่ดิฉันสนใจ คือ ใครจะมานั่งเก้ารัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เสียงลือเสียงเล่าอ้างในตอนแรกบอกว่า คุณอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี จะนั่งควบเก้าอี้ตัวนี้ ก็เลยเช็กเรตติ้งคนทำงานในแวดวงวิชาการ ปรากฏว่า ขานรับแต่โดยดี กระทั่งท้ายสุดมาลงเอยที่ คุณจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ นั่งเก้าอี้ตัวนี้ ก็เลยต้องเช็กกระแสเสียงอีกที


ถ้าใช้ภาษาวัยรุ่นก็ประมาณ so so…

ส่วนใหญ่จะบอกว่ารับได้ แต่ต้องขอดูก่อนว่าจากนี้ไปจะเป็นอย่างไร ?

วันก่อนเห็นหน้าคุณจุรินทร์ให้สัมภาษณ์ทางทีวีว่าจะเร่งดำเนินการปฏิรูปการศึกษาครั้งที่ 2

อืมม์...ข่าวดีหรือข่าวร้ายไม่รู้ แต่ที่รู้แน่ๆ การปฏิรูปการศึกษาในช่วงเวลาที่ผ่านมา ภายหลังจากที่ได้พระราชบัญญัติการศึกษาฉบับปี 2542 ซึ่งขณะนั้นผู้คนในแวดวงวิชาการส่วนใหญ่ชื่นมื่นเพราะเข้าใจว่าจะทำให้การศึกษาในบ้านเราดีขึ้น

แต่เมื่อเวลาผ่านไป 10 ปี วันนี้พิสูจน์ชัดว่าการปฏิรูปการศึกษาในบ้านเราล้มเหลวโดยสิ้นเชิง ..!!

หลังจากพยายามหาสาเหตุหลักๆ ของความล้มเหลวประมาณคร่าวๆ ได้ดังนี้

หนึ่ง – เรื่องบุคลากรทางการศึกษา

10 ปีผ่านไป เคยขาดแคลนบุคลากรอย่างไร ขาดคุณภาพอย่างไร ครูกับงานการเรียนการสอนที่ไม่สอดคล้องกันอย่างไร ก็ยังคงปัญหาอยู่ครบทุกประการ หรืออาจจะมากขึ้นด้วยซ้ำ

สอง – นโยบายที่ทำไม่ได้จริง

จากความวุ่นวายทางการเมืองที่ส่งผลให้เปลี่ยนตัวผู้นำกระทรวงบ่อยๆ แถมคนที่มานั่งเป็นเจ้ากระทรวงก็เข้าข่ายมือใหม่หัดขับ ส่วนคนเก่งมีความรู้ความสามารถก็ไม่รู้ว่าเหตุไฉนใยอยู่ไม่ได้สักราย ท้ายสุดก็เลยทำให้การแก้ปัญหาการศึกษาในบ้านเราไปไม่ถึงไหน และไม่สามารถสานต่อนโยบายได้อย่างจริงจัง ประกอบกับนโยบายบางอย่างก็ไม่สามารถนำไปใช้ได้จริง เช่น กรณีนโยบายเรียนฟรี 12 ปี แท้จริงแล้วไม่สามารถทำได้จริง..!!!

แม้จะบอกว่าเรียนฟรี แต่เอาเข้าจริงคนเป็นพ่อแม่ก็รู้อยู่ว่า ความจริงไม่ได้เรียนฟรีเลย ใบเสร็จอาจจะไม่มีค่าเล่าเรียน แต่ก็จะมีค่าใช้จ่ายจิปาถะที่ไม่สามารถทำให้พ่อแม่ไม่จ่ายไม่ได้ หนำซ้ำกลับมีค่าใช้จ่ายจุกจิกโน่นนี่ตลอดทั้งปีอีกต่างหาก เพราะช่องว่างของนโยบายนั่นเอง

สาม - เน้นการแข่งขันด้านวิชาการสุดลิ่ม

โครงสร้างการศึกษาในบ้านเราให้ความสำคัญเรื่องการแข่งขันเพื่อมุ่งเข้าสู่การศึกษาในระดับมหาวิทยาลัย ทั้งที่ความสำคัญของช่วงชีวิตมนุษย์ที่ควรจะได้รับการเรียนรู้และส่งเสริมศักยภาพของสมองมากที่สุดคือช่วงวัย 0-6 ปี

แม้พ่อแม่ในยุคปัจจุบันจะมีความเข้าใจในเรื่องการศึกษามากขึ้น เห็นความสำคัญในช่วงปฐมวัยมากขึ้น บางคนให้ลูกได้เตรียมความพร้อม โดยเลือกโรงเรียนแนวเตรียมความพร้อมให้ลูก แต่เมื่อเข้าสู่ช่วงชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ก็เข้าสู่ระบบแพ้คัดออก โดยใช้การสอบแข่งขันอยู่ดี ท้ายสุดพ่อแม่ก็ไม่สามารถต้านกระแสการแข่งขันในรูปแบบนี้ได้ ก็ต้องผลักลูกเข้าสู่ระบบการศึกษาที่เน้นการแข่งขันอยู่ดี

ที่น่าประหลาดใจ ก็คือ เมื่อเด็กที่ถูกเคี่ยวกร่ำอย่างหนักมาตลอดชีวิตเพื่อการสอบแข่งขันทุกระดับจนสามารถสอบเข้ามหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงของรัฐได้แล้ว กลับไม่ค่อยเน้นเรื่องวิชาการในระดับปริญญาตรี กลายเป็นช่วงที่วัยหนุ่มสาวลดระดับเรื่องวิชาการ เริ่มปล่อยปละและหันไปให้ความสนใจกับชีวิตในด้านอื่นๆ บางคนที่เคยเคร่งกับการสอบมาตลอดชีวิตก็ปล่อยตัวปล่อยใจสุดฤทธิ์ในช่วงนี้ เด็กบางคนที่หลงแสงสีและเสียผู้เสียคนในช่วงนี้จึงมีให้ผู้ใหญ่พบเห็นได้มากมาย

สี่ - ความไม่เท่าเทียมกันในระบบการศึกษา

ในอดีตมาตรฐานการศึกษาไม่เท่าเทียมกันในสังคมเมืองและชนบท ขณะที่สังคมเมืองเองก็มีปัญหาเรื่องมาตราฐานการศึกษาไม่เท่ากันระหว่างโรงเรียน แต่ปัจจุบันปัญหาดังกล่าวได้แผ่ขยายไปสู่มาตราฐานการศึกษาไม่เท่ากันในสถาบันการศึกษาแห่งเดียวกัน เนื่องเพราะมีการแบ่งหลักสูตรหรือแบ่งห้องเรียนในระดับชั้นเดียวกัน โดยอาศัยช่องว่างทางการศึกษาในการเก็บเงินเพิ่มขึ้นจากการแบ่งหลักสูตรนั้นๆ เช่น โรงเรียนแห่งหนึ่งแบ่งห้องเรียนออกเป็นหลายหลักสูตร มีทั้งห้องพิเศษ, ห้อง Gifted, ห้องหลักสูตรภาษาอังกฤษ ฯลฯ และห้องเหล่านั้นจะมีค่าเทอมที่แพงกว่าห้องเรียนปกติ

และแน่นอนว่า พ่อแม่ทุกคนต่างอยากให้ลูกได้เรียนทุกห้องยกเว้นห้องเรียนธรรมดา

ห้า - หลักสูตรการศึกษาในระบบมีปัญหา

ในอดีตการเรียนกวดวิชาจะเน้นเฉพาะเด็กที่เรียนอ่อน หรือเด็กที่ต้องการติวเพิ่มเติมเพราะเรียนไม่ทัน หรือเฉพาะช่วงต้องสอบเข้ามหาวิทยาลัยเท่านั้น แต่เดี๋ยวนี้ ค่านิยมของการกวดวิชากลายเป็นว่าต้องเรียนให้เหนือกว่าในห้องเรียน ต้องเหนือกว่าเพื่อนคนอื่น หรือต้องเหนือกว่าระดับชั้นเรียนในปัจจุบัน จากที่เคยเรียนกวดวิชากันในระดับชั้นมัธยมปลาย ก็เริ่มขยับลงเรื่องๆ มาสู่มัธยมต้น ระดับประถม และปัจจุบันบางคนก็ติวตั้งแต่ระดับชั้นอนุบาลด้วยซ้ำ

คนแห่ไปกวดวิชา เพระไม่เชื่อมั่นการศึกษาในระบบ ส่วนหนึ่งเกิดขึ้นเพราะความคาดหวังของพ่อแม่ที่เปลี่ยนไป

ในขณะที่โรงเรียนเองก็มีการเรียนพิเศษทั้งช่วงเย็นและวันเสาร์อาทิตย์ ถ้าโรงเรียนไม่เปิดสอนเอง คุณครูหรืออาจารย์ก็จะเปิดสอนพิเศษเอง โดยสอนเด็กที่อยู่ในชั้นเรียนของตนเองนั่นเอง ส่วนหนึ่งเพราะเป็นการสร้างรายได้เพิ่มให้กับคุณครู แต่คำถามที่เกิดขึ้นก็คือ แล้วทำไมถึงต้องเรียนพิเศษ เรียนเฉพาะในห้องเรียนเท่านั้นไม่พอเพียงหรือ แล้วโรงเรียนไม่มีมาตรการในการตรวจสอบเพียงพอหรือในการดูแลการเรียนการสอนของแต่ละสายชั้นหรือ ในทางตรงกันข้าม โรงเรียนกลับสนับสนุนให้พ่อแม่พาลูกไปเรียนพิเศษ กวดวิชากันเอง

ปัจจุบันมีสถาบันกวดวิชาเกิดขึ้นมากมาย ทั้งที่คุณครูในโรงเรียนสอนพิเศษเอง ทั้งที่เกิดขึ้นมาใหม่และสอนเฉพาะรายวิชานั้นๆ และสถาบันกวดวิชาข้ามชาติที่เข้ามาเปิดสาขาในเมืองไทยมากมาย

ก่อนหน้านี้ รศ.ไพฑูรย์ สินลารัตน์ รองอธิบดีฝ่ายวิจัย มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต ได้วิจัยเรื่องการกวดวิชาของนักเรียน ในกลุ่มตัวอย่าง 3,353 คน ทั้งนักเรียนมัธยมปลาย นิสิตนักศึกษาผู้บริหารโรงเรียนสังกัดกรมสามัญศึกษา ครู ผู้ปกครอง ตัวแทนโรงเรียนกวดวิชา พบ นักเรียนมัธยมปลายเกิน 30% เรียนกวดวิชา โดยผู้ที่กวดวิชาจะมีผลการเรียนดีกว่าผู้ที่ไม่กวด นักเรียนในเขตเมืองกวดวิชามากกว่าเขตนอกเมือง

มหาวิทยาลัยเปลี่ยนระบบการสอบเอนทรานซ์ มาเป็นแอดมิชชัน ให้มีสอบโอเน็ต เอเน็ต เก็บคะแนนจีพีเอ รวมทั้งสังคมที่แข่งขันสูง ทำให้มีการกวดวิชามากขึ้น และกวดกันตั้งแต่ระดับอนุบาลด้วยซ้ำ เชื่อว่ามีเด็กที่กวดวิชาไม่น้อยกว่า 40-50% ในปี 2549 ประมาณการณ์ว่ามีเด็กอยู่ในระบบการศึกษา ระดับ ป.1-ป.6 จำนวน 5,700,000 คน ระดับ ม.1-ม.6 จำนวน 4,660,000 คน รวม 10,360,000 คน

ในจำนวนนี้กวดวิชา 40% จำนวน 4,144,000 คน หากเรียนกวดวิชาอย่างน้อยคนละ 2 วิชา วิชาละ 2,500 บาท ก็เป็น 5,000 บาท คิดเป็นมูลค่า 20,720 ล้านบาทต่อปี ซึ่งนี่คิดจากค่าเฉลี่ยต่ำสุด ถ้าคิดว่ากวดวิชาราว 50% จะเป็นเงิน 25,900 ล้านบาทต่อปี จึงน่าจะมีเงินหมุนเวียนตลาดนี้ปีละ 20,000-25,000 ล้านบาทต่อปี

หก - แปะเจี๊ยะที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ

แม้ภาครัฐจะมีความพยายามแก้ปัญหาเรื่องแปะเจี๊ยะมาโดยตลอด ทั้งขู่ ทั้งปลอบ ทั้งรับประกัน แต่ลองไปถามพ่อแม่ที่ต้องส่งลูกเข้าโรงเรียนที่มีชื่อเสียงสิคะ แล้วจะรู้ว่าไม่ได้จ่ายค่าแป๊ะเจี๊ยะหรอกค่ะ แต่เขาเรียกค่าอย่างอื่นที่สุดแท้แต่โรงเรียนจะสรรหาเรียกไป

ตราบใดที่ไม่สามารถแก้ปัญหาเรื่องมาตรฐานการศึกษาให้เท่าเทียมกันได้ หรือไม่เหลื่อมล้ำกันจนเกินไป ก็ไม่มีวันแก้ปัญหาเรื่องค่าแปะเจี๊ยะในสังคมไทยได้อย่างแน่นอน

เป็นไงคะ จากการประมวลปัญหาคร่าวๆ พอจะเห็นแสงสว่างที่ปลายอุโมงค์ของการจะปฏิรูปการศึกษายกสองกันบ้างหรือยัง

ดิฉันยังจำได้ดีว่าตั้งแต่ลูกเล็กจนปัจจุบันอายุเท่าห้วงเวลาปฏิรูปการศึกษาในวันนี้ เจอะเจอวังวนของปัญหาการศึกษาที่หันไปทางไหนก็ตีบตัน ต้องใช้สรรพกำลังและความพยายามอย่างมากที่จะไม่ตกเข้าไปในกับดักการศึกษาที่ท้ายสุดแล้วไม่แน่ใจจริงๆ ว่าจะการศึกษาในบ้านเราแท้จริงช่วยพัฒนาศักยภาพของเด็กจริงหรือ..!!




ภาพชายสูงวัยที่นั่งอยู่บนรถเข็นสุดไฮเทคอาจทำให้คุณสนใจเพียงเพราะอุปกรณ์รอบตัวที่มีอยู่ แต่หากรู้ว่าเขาคือเจ้าของหนังสือวิทยาศาสตร์ยอดนิยม A Brief History of Time ที่ชื่อ “สตีเฟน ฮอว์คิง” สิ่งที่คุณสนใจน่าจะเป็น มันสมองที่เขามีอยู่มากกว่า

ฮอว์คิง เป็นนักฟิสิกส์ที่มีชื่อเสียงที่สุดที่ยังมีชีวิตอยู่ในขณะนี้ ในปี 1963 ขณะศึกษาอยู่ในระดับปริญญาเอก ฮอว์คิงรู้ว่าเขาเป็นโรคลูเกห์ริก อาการก็เริ่มรุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ อีกทั้งแพทย์ก็บอกว่าเขาจะมีชีวิตอยู่ได้ไม่นาน

แต่นั่นกลับไม่ใช่อุปสรรคสำหรับเขาคนที่ตั้งใจที่จะสร้าง ความก้าวหน้าให้กับวิชาฟิสิกส์ โดยเฉพาะการรวมทฤษฎีสัมพัทธภาพและทฤษฎีกลศาสตร์ควอนตัม สองทฤษฎีอันยิ่งใหญ่เข้าด้วยกัน โดยมีจุดเริ่มต้นมาจากการบรรยายของนักคณิตศาสตร์ผู้ปราดเปรื่องเมื่อปี 1965 อย่างโรเจอร์ เพนโรส ผู้พิสูจน์ว่าหลุมดำมีอยู่จริง

มันเกิดจากความตายของดวงดาวขนาดใหญ่เมื่อดวงดาวไหม้จนหมด สิ่งที่เหลืออยู่ทั้งหมดก็จะถูกดึงเข้าสู่ศูนย์กลาง ซึ่งศูนย์กลางของดวงดาวจะหนักมากจนแม้แต่ของหนึ่งช้อนชาก็ยังหนักกว่าเทือกเขาหนึ่งลูก พร้อมกันนั้นรอบ ๆ ดวงดาวอวกาศกำลังถูกบิดให้โค้งกลับเข้าไปในศูนย์กลาง ท้ายที่สุดความโค้งงอของอวกาศ ซึ่งเป็นผลจากแรงโน้มถ่วงก็กลายเป็นสิ่งที่ไร้จุดสิ้นสุด แม้แต่ลำแสงก็หนีออกไปไม่พ้น รอบ ๆ ศูนย์กลางที่หนาแน่นสุด ๆ มีพื้นที่แห่งความมืดที่เราเรียกกันในปัจจุบันว่าหลุมดำ




เพนโรสได้พิสูจน์โดยใช้สมการของไอน์ไสตน์ว่า ณ จุดศูนย์กลางของหลุมดำ มันมีช่องระบายที่สสาร อวกาศและเวลาหายไป รูที่ว่านี้มีชื่อทางคณิตศาสตร์เก๋ไก๋ว่าซิงกูลาริตี้ (singularity) และหลังจากนั้นฮอว์คิงก็เริ่มหมกมุ่นกับการทำความเข้าใจกับซิงกูลาริตี้

ในวิทยานิพนธ์ปริญญาเอก ฮอว์คิงได้พิสูจน์ว่าจักรวาลต้องปรากฏขึ้นจากจุดที่เล็กมากจุดหนึ่ง แต่เขาก็ไม่สามารถจะทำให้เห็นว่ามันเกิดขึ้นได้อย่างไรและทำไม สำหรับหลาย ๆ คนแล้วการปรากฏขึ้นอย่างกะทันหันแบบอธิบายไม่ได้ของจักรวาล แล้วก็ขยายตัวขึ้นจากจุดเล็ก ๆ จุดหนึ่งมันจะต้องเป็นปาฏิหาริย์แน่

การไขปริศนาของซิงกูลาริตี้ จุดเล็ก ๆ ของการรังสรรค์ได้กลายเป็นงานชั่วชีวิตของฮอว์คิง การแสดงให้เห็นว่าจักรวาลทั้งหมดเกิดจากจุดเล็ก ๆ จุดหนึ่งไม่เพียงพอ ฮอว์คิงต้องการทฤษฎีของสรรพสิ่งที่สมบูรณ์ ทฤษฎีที่จะอธิบายจุดกำเนิดของจักรวาลอย่างละเอียดชัดแจ้ง และก็เป็นอีกครั้งที่หลุมดำจะเป็นตัวชี้ทางสว่าง

ในต้นทศวรรษ 1970 หลุมดำคือผู้นำมาซึ่งความตาย แต่สำหรับนักวิจัยฟิสิกส์อย่างฮอว์คิง มันกลับเป็นความท้าทายที่น่าตื่นเต้น เขาพยายามมองย้อนกลับไปเมื่อ 13.7 พันล้านปีที่แล้ว ณ จุดเริ่มของสรรพสิ่ง แต่อุปสรรคสำคัญก็คือการหาทฤษฎีมาอธิบายว่าในยุคเริ่มต้นจักรวาลมีรูปร่างหน้าตาเป็นอย่างไร

ทฤษฎีของไอน์สไตน์บอกว่า หลุมดำคือพื้นผิวทรงโดมที่เรียบสมบูรณ์ ฮอว์คิงผลักมันเข้าไปในทะเลแห่งอนุภาคและอะตอม ทฤษฎีทั้งสองปะทะและต่อสู้กัน ฮอร์คิงต้องหาวิธีทำให้มันอยู่ด้วยกัน ในระดับอะตอม อนุภาคแทบจะไม่มีอยู่ มันไม่เหมือนก้อนสสารแข็ง ๆ หากแต่เหมือนกับสนามพลังที่ว่างเปล่ามากกว่า

และในฐานะสนามพลัง มันจึงส่งประกายเรืองรองออกมา มันเหมือนกับคลื่นมากกว่า น้ำ เสียงและแสง สามารถจะทำตัวเหมือนคลื่น แต่ส่วนต่างๆ ของอะตอมก็ทำอย่างนั้นได้ และนั่นก็หมายความว่ามันสามารถจะกระจายตัวออกไปอยู่ในหลาย ๆ ที่ในช่วงเวลาหนึ่ง




ตลอด 30 ปีที่ผ่านมา ฮอว์คิงได้ดิ้นรนค้นหาวิธีที่จะมาอธิบายแรงโน้มถ่วงมหาศาลด้วยทฤษฎีควอนตัม แต่เขามีความเชื่อมั่นศรัทธาว่าทฤษฎีสิ่งที่เล็กมากจะใช้อธิบายเรื่องนี้ได้ และก็มีหลักฐานที่สนับสนุนความเชื่อของเขาด้วย เช่นเดียวกับอะตอมซึ่งไม่หยุดนิ่ง ไม่คงที่ ดูเหมือนว่าจักรวาลเองก็เป็นเช่นนั้นด้วย

ทุกวันนี้ในวัย 66 ปี สตีเฟน ฮอว์คิง เป็นศาสตราจารย์ลูเคเชียนด้านคณิตศาสตร์ประจำมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ ตำแหน่งที่ เซอร์ ไอแซค นิวตัน เคยรับหน้าที่มาก่อน เขายังคงทำงานสอนและวิจัยเต็มสัปดาห์ และเป็นวิทยากรที่โลกวิชาการต้องการคำบรรยายอันประเทืองปัญญาของเขาเสมอ

จากปรนัยเป็นอัตนัย

เยาวชนชี้ปรนัยทำลายชาติ เด็กทำข้อสอบได้แต่ไม่มีความรู้



ศ.ดร.ณรงค์ ปั้นนิ่ม อาจารย์สาขาคณิตศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (มศว) และประธานคณะกรรมการผู้ดูแลวิชาคณิตศาสตร์ มูลนิธิส่งเสริมโอลิมปิกวิชาการและพัฒนามาตรฐานวิทยาศาสตร์ศึกษา มูลนิธิส่งเสริมโอลิมปิกวิชาการและพัฒนามาตรฐานวิทยาศาสตร์ศึกษา ในพระอุปถัมป์สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ (สอวน.) เปิดเผยว่า

การจะทำให้เด็กไทยมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในวิชาคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์อยู่ในเกณฑ์ไม่ตกต่ำนั้น เราต้องเปลี่ยนแปลงวิธีการสอบเข้ามหาวิทยาลัย ตลอดถึงการออกข้อสอบในทุกระดับโดยเฉพาะข้อสอบเข้ามหาวิทยาลัยนั้นต้องเปลี่ยนแปลงจากปรนัยเป็นอัตนัย

อย่างในประเทศญี่ปุ่น มาเลเซีย อังกฤษ สิงคโปร์ ไม่ใช้ข้อสอบปรนัยในการสอบเข้ามหาวิทยาลัยเลย อยากเห็นสำนักทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (สทศ.) ซึ่งดูแลในเรื่องการออกข้อสอบต้องเปลี่ยนแปลงแนวคิดในการออกข้อสอบ

ทุกวันนี้เราเรียนเพื่อสอบเข่งขันกันมากเกินไป ครูเองก็สอนเพื่อให้นักเรียนไปทำข้อสอบ การเรียนเพื่อให้เห็นถึงหัวใจในรายวิชาต่างๆ แทบไม่มีจุดมุ่งหมาย ในแต่ละรายวิชาครูแทบไม่รู้ว่าสอนหรือให้เด็กเรียนไปเพื่ออะไร เพราะครูท่องอยู่คำเดียวว่าเรียนไปเพื่อสอบ เด็กถูกปลูกฝังอย่างนี้ เมื่อสำเร็จการศึกษาออกไปเป็นครู ก็ตกอยู่ในวงจรเดิมๆ จนยากที่จะแก้ไข

มีครูสักกี่คนที่สอนเด็กเพื่อความรู้จริงๆ ก่อนเรียนบอกเด็กเรื่องของจุดมุ่งหมายในแต่ละรายวิชา ผมไม่ได้มองว่าข้อสอบปรนัยมีแต่ข้อเสีย หากแต่เมื่อเราเอามาใช้เราใช้แบบฉาบฉวยมากเกินไป จนมันเกิดเป็นสิ่งที่เลวร้ายขึ้นกับระบบการศึกษาไทย

ทุกวันนี้เรายึดเรื่องสอบเป็นหลัก บางโรงเรียนถ้าเด็กคนใดไม่ใช่วิชาไหนไปสอบแทบไม่ต้องเรียนในรายวิชานั้น และบางรายวิชาครูก็ไม่ให้ความสนใจเด็กไม่ต้องเรียน ถ้าเราเรียนเพื่อความรู้เราต้องสอนให้เด็กรู้จุดประสงค์ของการเรียนในทุกรายวิชา เพราะแต่ละวิชาต่างมีคุณค่าและมีความงามในตัวเองแทบทั้งสิ้น

การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในรายวิชาคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ให้มีผลสัมฤทธิ์ที่ดีขึ้นนั้น เราต้องรื้อแนวคิดออกข้อสอบ การเรียนการสอนที่เน้นการทดสอบโดยใช้ข้อสอบอัตนัยให้มากขึ้น บางโรงเรียนให้นักเรียนเรียงความ ย่อความแต่ออกเป็นข้อสอบปรนัย

จะเห็นว่าทางการที่เราเน้นข้อสอบปรนัยมากๆ แม้กระทั่งการย่อความเรียงความ ส่งผลให้เด็กไทยเขียนอธิบายหรือย่อความ จับประเด็นไม่เป็น ผมอยากเห็นกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ต้องเป็นเอาจริงเอาจังและพร้อมจะปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์ในเรื่องการออกข้อสอบ แต่ต้องเอาจริงเอาจัง

บ่อยครั้งที่เราเห็น ศธ. มีแนวคิดแต่เมื่อลงมือปฏิบัติแล้วไม่สามารถทำได้ อย่างเช่นศธ.พูดเรื่องการบรรจุครูในโรงเรียนต่างๆ แต่ไม่ได้ดูว่าโรงเรียนแต่ละโรงขาดครูในวิชาใดบ้าง บ่อยครั้งที่เราเห็นครูที่จบพละศึกษาต้องไปสอนวิชาคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ซึ่งถ้ายังเป็นเช่นนี้อยู่อย่าหวังว่าผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาของเด็กไทยจะดีขึ้น

ศ.ดร.ณรงค์ กล่าวอีกว่า ผมอยากจะให้ ศธ. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทบทวนเรื่องการเรียนซ้ำชั้น ทบทวนเรื่องข้อสอบปรนัยที่ใช้อยู่ในโรงเรียนต่างๆ ตลอดถึงการสอบเข้ามหาวิทยาลัย กันอยู่จนเกิดเป็นความเคยชิน ในสมัยก่อนมีคนเรียนซ้ำชั้นตอนม.8 แต่ความรู้ความเข้าใจเขามีมากขึ้น จนเขาสามารถสอบเข้าเรียนแพทย์ได้

ผมคิดว่าการเรียนซ้ำชั้นในปัจจุบันนี้ ยังมีความจำเป็นอยู่ เด็กจำนวนไม่น้อยสอบไม่ผ่านแก้ 0 เพื่อให้ผ่าน ซ่อมแล้วซ่อมอีกจนเบื่อจนตัวครูเองก็เบื่อ นักเรียนก็เบื่อ แต่สุดท้ายเด็กก็ผ่านไปได้แม้คุณภาพจะไม่ได้คุณภาพก็ตาม มันจึงเป็นการปล่อยๆ เด็กให้ผ่านไปโดยไร้คุณภาพ

วิกฤติเด็กไทยไม่อยากมาโรงเรียน
จำนวนผู้อ่าน : 528


--------------------------------------------------------------------------------





เข้าขั้นวิกฤติเต็มที เด็กไม่อยากมาโรงเรียนเพิ่มสูงขึ้น ผอ.สถาบันรามจิตติเผย 1.5 แสนคน ชอบมาโรงเรียนแค่ 40% ส่วนใหญ่เป็นเด็กมัธยมในต่างจังหวัด อ้างโรงเรียนนั้นไม่ปลอดภัย แถมครูสอนน่าเบื่อ ไม่สร้างแรงบันดาลใจการเรียนรู้ ด้าน "อ.สมพงษ์" แนะปรับรูปแบบการเรียน หาเทคนิคการสอนที่เข้ากับวัยเด็ก


นายอมรวิชช์ นาครทรรพ ผู้อำนวยการสถาบันรามจิตติ เผยผลการสำรวจนักเรียนจำนวน 150,000 คน จาก 76 จังหวัดทั่วประเทศโดยสุ่มตัวอย่างจังหวัดละ 2,000 คน ตั้งแต่ระดับประถมศึกษาจนถึงระดับอุดมศึกษา ทั้งนี้ ได้ทำการสอบถามเกี่ยวกับความชอบหรือไม่ชอบมาโรงเรียนของนักเรียน โดยให้เลือก 3 ระดับด้วยกัน คือ ชอบมาโรงเรียนมาก ชอบมาโรงเรียนในระดับปานกลาง และไม่ชอบมาโรงเรียนอย่างไรก็ตามผลการสำรวจพบว่ามีนักเรียนที่ชอบมาโรงเรียนมากมีเพียงแค่ร้อยละ 40 เท่านั้น


ทั้งนี้ จากการสำรวจยังพบด้วยว่านักเรียนที่อยู่ในเมือง ไม่ชอบมาโรงเรียนมากกว่านักเรียนที่อยู่นอกเมืองหรือในต่างจังหวัด และนักเรียนระดับประถมชอบไปโรงเรียนมากกว่านักเรียนระดับมัธยม


นอกจากนั้น ยังพบว่าแนวโน้มเด็กส่วนใหญ่มีความรู้สึกว่าโรงเรียนไม่ปลอดภัยนั้นมีสูงขึ้น เพราะพบเห็นภาพความรุนแรงโดยเฉพาะในเด็กมัธยมศึกษาตอนต้น ไม่ว่าจะเป็นเรื่องชกต่อยในโรงเรียน แก๊งรีดไถ แถมนิสัยการอ่านหนังสือลดน้อยลงอีกด้วย


"ผลการสำรวจที่ออกมา ทำให้ผู้ที่เกี่ยวข้องต้องหันมาทบทวนตัวเอง ตั้งแต่เรื่องวิธีสอนของครู ที่ให้ความสำคัญกับการทำผลงานมากกว่าใส่ใจการสอนเด็ก รวมถึงปัญหาความรุนแรงที่เกิดขึ้นภายในโรงเรียนด้วย" ผอ.สถาบันรามจิตติกล่าว


ด้าน รศ.ดร.สมพงษ์ จิตระดับ อาจารย์ประจำคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยกล่าวว่า ผลงานวิจัยของโครงการติดตามสถานการณ์เด็กและเยาวชน Child Watch ในส่วนของกรุงเทพมหานคร สอดคล้องกับผลสำรวจของสถาบันรามจิตติ โดยได้ทำการสำรวจนักเรียนกลุ่มตัวอย่างจำนวน 9,000 คน ใน 6 จังหวัด ได้แก่ กรุงเทพฯ จ.สมุทรสาคร จ.สมุทรสงคราม จ.ปทุมธานี จ.นครปฐม และ จ.นนทบุรี


"ผลงานวิจัยพบว่าเด็กขาดความสุข ขาดความกระตือรือร้น และขาดแรงบันดาลใจในการมาโรงเรียนโดยเฉพาะในระดับมัธยม ซึ่งได้มีการตั้งสมมติฐานว่าสาเหตุที่ทำให้เด็กรู้สึกเช่นนั้น เกิดจากเด็กรู้สึกว่าการมาโรงเรียนไม่น่าสนุก น่าเบื่อ ถึงขนาดคอยเช็กชั่วโมงเรียนว่าชั่วโมงไหนครูไม่เข้าสอนบ้าง สาเหตุหลักๆ เป็นเพราะครูมุ่งแต่จะทำผลงานทำให้ไม่มีเวลาดูแลเด็ก ทำให้เด็กรู้สึกเหมือนถูกทอดทิ้ง นอกจากนั้นเนื้อหาของหลักสูตรยังไม่สอดคล้องกับสิ่งที่เด็กต้องการจะเรียนรู้ ปัญหานี้ถือเป็นปัญหาใหญ่ และเป็นเรื่องที่ต้องเร่งแก้ไขโดยด่วน" รศ.ดร.สมพงษ์กล่าว


อาจารย์ประจำคณะครุศาสตร์ จุฬาฯ ยังกล่าวถึงแนวทางแก้ปัญหาด้วยว่า ผู้เกี่ยวข้องต้องออกแบบว่าจะทำอย่างไรให้โรงเรียนน่าอยู่ โดยหากิจกรรมเข้ามาเสริมเพิ่มความกระตือรือร้นให้กับเด็ก รวมถึงการหาอุปกรณ์การเรียนการสอนและสื่อการสอนที่สร้างสรรค์ รวมทั้งหาเทคนิควิธีการเรียนที่เข้ากับวัยของเด็กด้วย





--------------------------------------------------------------------------------


ขอขอบคุณข้อมูลจาก หนังสือพิมพ์ไทยโพสต์
และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)

50 ผู้นำโลกยุคใหม่

50 ผู้นำโลกยุคใหม่
December 25, 2008
นิตยสาร Newsweek ฉบับสุดท้ายของปี 2008 ได้จัดอันดับผู้นำที่ทรงอิทธิพลต่อโลก 50 คน โดยมีรางชื่อดังนี้
ที่มา - Newsweek
(หมายเหตุ: บางอันดับเป็นผู้นำร่วม หรือผู้ที่อยู่ในทีม-องค์กรเดียวกัน)
• 1: Barack Obama - ประธานาธิบดีสหรัฐ
• 2: Hu Jintao - ประธานาธิบดีจีน
• 3: Nicolas Sarkozy - ประธานาธิบดีฝรั่งเศส
• 4-5-6: Economic Triumvirate - ผู้กุมชะตาทางเศรษฐกิจของโลก ประกอบด้วย Ben Bernanke ประธานธนาคารกลางสหรัฐ, Jean-Claude Trichet ประธานธนาคารกลางยุโรป และ Masaaki Shirakawa ประธานธนาคารกลางญี่ปุ่น
• 7: Gordon Brown - นายกรัฐมนตรีสหราชอาณาจักร
• 8: Angela Merkel - นายกรัฐมนตรีเยอรมนี
• 9: Vladimir Putin - นายกรัฐมนตรีรัสเซีย
• 10: Abdullah bin Abdulaziz Al-Saud - กษัตริย์ของซาอุดิอาระเบีย
• 11: Ayatollah Ali Khamenei - ผู้นำทางศาสนาของอิหร่าน
• 12: Kim Jong Il - ผู้นำเกาหลีเหนือ
• 13-14: The Clintons - บิล คลินตัน และฮิลลารี คลินตัน
• 15: Timothy Geithner - รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังของโอบามา
• 16: Gen. David Petraeus - ผู้บัญชาการกองทัพสหรัฐในอิรัก
• 17: Sonia Gandhi - ประธานพรรคคองเกรสของอินเดีย
• 18: Luiz Inácio Lula da Silva - ประธานาธิบดีบราซิล
• 19: Warren Buffett - นักลงทุนและมหาเศรษฐีอันดับสองของโลก
• 20: Gen. Ashfaq Parvez Kayani - ผู้บัญชาการกองทัพบกของปากีสถาน
• 21: Nuri al-Maliki - นายกรัฐมนตรีอิรัก
• 22-23: The Philanthropists - บิล เกตส์ และเมลินดา ภรรยา ในฐานะเจ้าของมูลนิธิช่วยเหลือสังคมที่ใหญ่ที่สุดในโลก
• 24: Nancy Pelosi - ประธานสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐ พรรคเดโมแครต
• 25: Khalifa bin Zayed Al Nahyan - ประธานาธิบดีของอาหรับเอมิเรตส์
• 26: Mike Duke - ซีอีโอของ Wal-mart บริษัทค้าปลีกรายใหญ่ที่สุดของสหรัฐ
• 27: Rahm Emanuel - ผู้อำนวยการทำเนียบขาวของโอบามา
• 28: Eric Schmidt - ซีอีโอของกูเกิล
• 29: Jamie Dimon - ซีอีโอของ JP Morgan Chase
• 30-31: Friends of Barack - ประกอบด้วย David Axelrod หัวหน้าทีมหาเสียงของโอบามา และ Valerie Jarret หนึ่งในที่ปรึกษาของโอบามา
• 32: Dominique Strauss-Kahn - ผู้อำนวยการกองทุน IMF
• 33: Rex Tillerson - ซีอีโอของ ExxonMobil (เอสโซ่)
• 34: Steve Jobs - ซีอีโอของแอปเปิล
• 35: John Lasseter - ซีอีโอของ Pixar Animation (ปัจจุบันเป็นบริษัทลูกของดิสนีย์)
• 36: Michael Bloomberg - นายกเทศมนตรีนครนิวยอร์ก
• 37: Pope Benedict XVI - พระสันตะปาปาองค์ปัจจุบัน
• 38: Katsuaki Watanabe - ซีอีโอของโตโยต้า
• 39: Rupert Murdoch - ซีอีโอของ News Corporation (เจ้าของสื่อขนาดใหญ่)
• 40: Jeff Bezos - ซีอีโอของ Amazon.com
• 41: Shahrukh Khan - ดาราภาพยนตร์จากอินเดียชื่อดัง
• 42: Osama bin Laden - ผู้ก่อการร้าย
• 43: Hassan Nasrallah - ผู้นำชบวนการต่อสู้ของเลบานอนต่ออิสราเอล
• 44: Dr. Margaret Chan - ผู้อำนวยการองค์การสุขภาพโลก (World Health Organization - WHO)
• 45: Carlos Slim Helú - มหาเศรษฐีอันดับสามของโลก ชาวเม็กซิโก เจ้าของกิจการโทรคมนาคมหลายแห่ง
• 46: The Dalai Lama - ผู้นำทางศาสนาของทิเบต
• 47: Oprah Winfrey - พิธีกรโทรทัศน์ของสหรัฐ
• 48: Amr Khaled - พิธีกรโทรทัศน์ของอียิปต์
• 49: E. A. Adeboye - ผู้นำศาสนาคริสต์ในไนจีเรีย
• 50: Jim Rogers - ซีอีโอของ Duke Energy บริษัทพลังงานทดแทน