WELCOME

ขอต้อนรับทุกท่านครับ
วันนี้ผมอยากจะบันทึกสิ่งต่าง ๆที่ได้รับรู้รับทราบเอาไว้ เผื่อจะได้ทบทวนความจำ
และเป็นเวทีแลกเปลี่ยนกับเพื่อนๆที่มีความสนใจในเรื่องราวที่เกี่ยวกับการบริหาร
แต่อย่าคาดหวังอะไรจากบลอกของผมนะครับ เพราะไม่ได้มุ่งหวังจะให้เป็นแหล่งอ้างอิงในทางวิชาการ เผลอๆ ไม่รู้ว่าที่พูดไปเขียนไปจะผิดถูกแค่ไหนก็ไม่อาจรับประกันได้
เอาเป็นว่าแค่เอาไว้แลกเปลี่ยนกันก็แล้วกันนะครับ

วันอาทิตย์ที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2550

Creative Industry ของไทย

ดร.อาคม เติมพิทยาไพสิฐ รองเลขาธิการสภาพัฒน์ฯ ท่านวิเคราะห์ไว้อย่างนี้

“อุตสาหกรรมเชิงสร้างสรรค์ หากเทียบกับเกาหลีใต้ เราถูกทิ้งไปอย่างน้อย 10 ปีเพราะ การจะผลักดันเรื่องนี้ ขึ้นกับทางการเมืองด้วยว่า ผู้บริหารประเทศให้ความสำคัญในเรื่องนี้แค่ไหน และใครจะเป็นเจ้าภาพที่ชัดเจนในการขับเคลื่อนเพราะ วันนี้มีไม่น้อยกว่า 15 หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ และต่างคนต่างทำ จึงทำให้การพัฒนาไม่สามารถเดินไปได้อย่างครบวงจร ไม่ว่าจะเป็นการอนุรักษ์ฟื้นฟู วิจัยพัฒนา การตลาด และบุคลากร”

ดร.อาคมยังทิ้งท้ายไว้ว่า ในส่วนตัวน่าจะตั้ง “องค์กรพิเศษ” ขึ้นมาเป็นเจ้าภาพรับผิดชอบในเรื่องนี้ และมีเป้าหมายชัดเจนว่า ในอีก 5 ปีหรือ 10 ปีข้างหน้า เราอยากเป็นภาพอุตสาหกรรมเชิงสร้างสรรค์ของไทยอย่างไร เพราะ การทำเรื่องนี้ ไม่ใช่จะทำได้ทันทีเพราะ ต้องทำวิจัย และพัฒนาหลายปี กว่าจะคลอด Action Plan ออกมาได้ อย่างเช่น เกาหลีใต้วันนี้ที่เติบโตเร็วมาก และส่งสินค้าวัฒนธรรมออกมาตีตลาดโลก เขาคิดกันมาเป็นสิบปี กว่าจะส่งผลเป็นเม็ดเงินที่กอบโกยเข้าประเทศได้ในขณะนี้

กระบวนการคิดและผลักดัน Creative Industry มีความสำคัญมากเพราะ เป็นการขับเคลื่อนด้วยสมอง ที่สามารถสร้าง “มูลค่าเพิ่ม”ได้ อย่างเช่น สตีฟ จ็อบส์ ผลิตไอโฟนขายดีทั่วโลกจำนวนหลายล้านเครื่อง ชิ้นส่วน และ การผลิตอยู่ในประเทศจีน โดยสตีฟเป็นเพียงคนคิด และควบคุม ที่สำคัญคือ สามารถกินส่วนต่างการการตลาดได้มากที่สุดด้วย

ประเทศไทยวันนี้ยังอยู่ใน “ขั้นเริ่มต้น” และยังไม่รู้ด้วยว่า รัฐและเอกชนจะเดินไปทิศทางไหนเพราะ การผลักดันจะต้องดูตั้งแต่ต้นนำถึงปลายน้ำ และมองอย่างบูรณาการแบบครงวงจร เหมือนเช่น ญี่ปุ่น หรือเกาหลีใต้ที่ดำเนินอยู่ในขณะนี้ โดยตั้งเป็นองค์พิเศษขึ้นมาดูแลเป็นการเฉพาะ และเป็น “มันสมอง” ที่คอยคิดว่า จะสร้าง content และต่อยอดได้อย่างไร ไม่ว่าจะเป็นด้านภาพยนต์ เกม แอนนิเมชั่น ดนตรี และศิลปะ

อ่านแล้วเอาไปคิดเป็นการบ้านหน่อยนะครับว่า คุณครูในโรงเรียนจะต้องสอนอะไรเด็กดี จึงจะตามคนอื่นเขาทัน

แนวทางใหม่ในการบริหาร

สรุปจากคำบรรยายของ ผศ.ดร.สรายุทธ์ เศรษฐขจร
หลักสูตรปริญญาโท การบริหารการศึกษา
มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา


1. 360 Degree Administration
: การบริหารยุคใหม่ต้องใช้มุมมองให้รอบด้าน มองทุกมิติ มองชีวิตทั้งชีวิต (whole life) คนมีชีวิตใจ เลือดเนื้อ มีความคิดความเชื่อเป็นของตน มีสายสัมพันธ์ มีสังคม มีปัญหาส่วนตัว จึงต้องมองให้เห็นความทุกข์ความสุข ข้อเด่นข้อด้อย เพื่อใช้เป็นข้อมูลองค์ประกอบในการบริหาร โดยใช้กลยุทธ์และช่องทางที่มีประสิทธิภาพที่สุด

2. Analysis by Research
: ใช้การวิจัยเป็นเครื่องมือในการบริหาร ต้องใช้ผลการวิจัยทั้งในการวางแผนพัฒนาองค์กรและในการวินิจฉัยสั่งการ แต่ไม่จำเป็นต้องออกแบบสำรวจ หรือแบบสอบถามทุกครั้ง บางองค์กรที่มีสมาชิกน้อย ก็อาจใช้การประชุมแลกเปลี่ยนความคิดเห็น สอบถามความคิดความต้องการของทุกคนได้ จะทำให้การแก้ปัญหาเป็นไปอย่างถูกต้องและเป็นระบบ
3. Flexi-Administration
: การบริหารยุคใหม่ต้องมีความยืดหยุ่น ไม่ตึงเกินไป และไม่หย่อนเกินไป ....บ้านเมืองต้องมีกฎหมายฉันใด โรงเรียนก็ต้องมีวินัยฉันนั้น รักษาสมดุลของFit&Fix ด้วย ต้องให้พอดี พอเหมาะ(Fit) ไม่ใช่ยึดติดกับกฏเกณฑ์จนกระดิกกระเดี้ยไม่ได้(Fix)
4. Purposive Budget
: ใช้การบริหารงบประมาณแบบเจาะจง ตามเนื้องานที่ทำ ไม่ใช่แบ่งเค้กกัน เช่น มี 8 กลุ่มงาน ก็แบ่งให้เท่า ๆ กันไปเลย แทนที่จะดูตามบทบาท ภารกิจ ความต้องการจำเป็นของแต่ละกลุ่มงาน
5. Feedback
: มีการให้ข้อมูลป้อนกลับ มีการให้รางวัลตอบแทนผลการปฏิบัติงาน มีการวัดผลประเมินผลที่มีประสิทธิภาพ



ในฐานะผู้นำ อ่านแล้วลองนำไปประยุกต์ใช้ในการบริหารนะครับ

การบริหารสู่ความเป็นเลิศ

ถามว่า อะไรคือความเป็นเลิศ ดูตรงไหน
ผู้รู้บอกว่า ดูกัน 3 ตัวครับ

1. ประสิทธิผล
2. ประสิทธิภาพ
3. ความพึงพอใจ(ของทุกฝ่าย)

องค์กรทุกองค์กรคงต้องการที่จะพัฒนาตนเองไปสู่องค์กรแห่งความเป็นเลิศ
เพราะว่าในยุคปัจจุบันนี้คงเป็นไปไม่ได้ที่จะหยุดนิ่ง หรือดำรงสภาพแค่บริหาร
กิจการกันไปวัน ๆ โลกยุคใหม่ถูกท้าทายด้วยสิ่งที่เรียกว่า แรงท้าทายแห่งอนาคต
(FUTURE CHALLENGE)ได้แก่

ยุคแห่งการปฏิรูป
ยุคแห่การแข่งขัน
ยุค ไอที
ยุคของคนรุ่นใหม่ (คนรุ่นใหม่ ไม่มีความเชื่อ ไม่มีธรรมเนียม ไม่มี ฯลฯ)

สิ่งท้าทายเหล่านี้กดดันให้ทุกองค์กรต้องแสวงหาแนวทางสู่ความอยู่รอดและ
ประสบความสำเร็จต่อไปได้
มีคนคิดค้นตัวแบบ(MODEL)แห่งการพัฒนาองค์กรให้เป็นเลิศ ไว้หลายคน
ที่โด่งดังก็เช่น
เชอร์โต (Certo)ที่บอกว่าต้องพัฒนา 3 องค์ประกอบ
1. โครงสร้างขององค์กร ได้แก่ นโยบาย รูปแบบหรือแนวทางในการบริหาร
2. เทคโนโลยี ทั้งในด้านกระบวนการและเครื่องมือ
3. คน ด้านเจตคติ ทักษะผู้นำ ทักษะการสื่อสารเป็นต้น

ท่านผู้อ่านคิดว่าองค์ประกอบไหนสำคัญที่สุดครับ
ท่านคงเห็นด้วยกับผู้เขียนนะครับว่า ไม่มีอะไรจะสำคัญไปกว่า คน หรอกครับ

คนที่ไม่ใชแค่ MAN แต่หมายถึง HUMAN มีชีวิตจิตใจ มีศักดิ์ศรี
จะเอาหลักทฤษฎีไหนมาใช้ ก็คงหนีไม่พ้นที่จะต้องลงที่คน เพราะคนเป็นผู้ปฏิบัติทุกอย่าง
รูปแบบหรือกระบวนการที่จะใช้กับคนจึงต้องระมัดระวังและให้ความสำคัญเป็นอันดับหนึ่ง

ถ้าคนมีแรง๗งใจ มีขวัญกำลังใจที่ดี มีความพึงพอใจ
มีหรือ งานจะไม่สำเร็จ

เห็นด้วยไหมครับ