WELCOME

ขอต้อนรับทุกท่านครับ
วันนี้ผมอยากจะบันทึกสิ่งต่าง ๆที่ได้รับรู้รับทราบเอาไว้ เผื่อจะได้ทบทวนความจำ
และเป็นเวทีแลกเปลี่ยนกับเพื่อนๆที่มีความสนใจในเรื่องราวที่เกี่ยวกับการบริหาร
แต่อย่าคาดหวังอะไรจากบลอกของผมนะครับ เพราะไม่ได้มุ่งหวังจะให้เป็นแหล่งอ้างอิงในทางวิชาการ เผลอๆ ไม่รู้ว่าที่พูดไปเขียนไปจะผิดถูกแค่ไหนก็ไม่อาจรับประกันได้
เอาเป็นว่าแค่เอาไว้แลกเปลี่ยนกันก็แล้วกันนะครับ

วันพุธที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2551

กลยุทธ์ ซีเอสอาร์ (Coporate Socail Reponsibility : CSR)

ซีเอสอาร์ กลยุทธ์ปิดทองหลังพระ


กลยุทธ์ ซีเอสอาร์ (Coporate Socail Reponsibility : CSR) หรือการตลาดรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กรธุรกิจ ที่ทั่วโลกพูดถึงทุกวันนี้ไม่ใช่เรื่องใหม่ หลายองค์กรออกมาขับเคลื่อนและทำกันมานานแล้วเพื่อไปหาเป้าหมายสูงสุด คือ การส่งเสริมภาพลักษณ์ที่ดีให้กับองค์กรและแบรนด์สินค้า

ความสำเร็จของแนวทางดังกล่าวทำให้ซีเอสอาร์จึงกลายเป็นอมตะแห่งการสร้างแบรนด์อย่างยั่งยืนสำหรับกลุ่มธุรกิจที่ทำซีเอสอาร์แท้ ขณะเดียวกันกลยุทธ์นี้จะไม่เป็นผลดีในระยะยาวกับผู้ที่ทำซีเอสอาร์เทียม

"แนวทางซีเอสอาร์เทียม คือ การเสาะแสวงหาผลกำไรเพียงอย่างเดียว และเพื่อสร้างการรับรู้ทางสังคมผ่านการประชาสัมพันธ์ในการดึงกระบวนการซีเอสอาร์มาใช้เป็นเครื่องมือ ซึ่งกำลังเข้าไปหาจุดเสี่ยงที่จะทำให้แบรนด์ประสบความล้มเหลว "ดร.พิพัฒน์ ยอดพฤติการ ผู้อำนวยการสถาบันไทยพัฒน์ ผู้เชี่ยวชาญด้านซีเอสอาร์ ชี้

"บางจาก" ถือเป็นต้นแบบแห่งซีเอสอาร์สิ่งแวดล้อมที่ประสบความสำเร็จยั่งยืนอย่างแท้จริง ซึ่งทำมานานนับ 20 ปี เป็นกิจกรรมที่ทำกับสังคมจนกลายเป็นภาพลักษณ์ที่ผู้บริโภคทั่วไปติดกับคำว่า green company ดูแลสิ่งแวดล้อมดีและทำอะไรก็เกี่ยวกับสังคม

กระทั่งมีหลายกลุ่มธุรกิจตามเทรนด์ กลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้า พานาโซนิค ปีนี้ก็มีการปรับโลโก้แบรนด์ใหม่ ใช้คอนเซ็ปต์ "Tree" เข้ามาสื่อสารเรื่องสิ่งแวดล้อม โตชิบา จัดแคมเปญ "นวัตกรรมสีเขียวเพื่อโลกสีขาว" ด้านมิตซูบิชิ ขี่กระแส สื่อสารน้ำยาแอร์ R4 10 A รักษาสิ่งแวดล้อม ทางด้านกลุ่มยานยนต์ โตโยต้า รุกหนักซีเอสอาร์เพื่อสิ่งแวดล้อมในชื่อ All for Envoroment เสริมความแข็งแกร่งให้แบรนด์

ดร.อนุสรณ์ แสงนิ่มนวล กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท บางจากปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) ได้เคยกล่าวถึงเรื่องซีเอสอาร์ของบางจากว่า เราทำซีเอสอาร์มา 20 ปีแล้วมุ่งทำประโยชน์ให้คนอื่น ไม่เอาเปรียบประชาชน ซึ่งกิจกรรมที่ทำกับสังคมในรูปแบบต่าง ๆ คนทั่วไปมองว่าเป็น green company ดูแลสิ่งแวดล้อม โดยต้องแยกผลประโยชน์เรื่องกำไรที่จะตอบโจทย์ผู้ถือหุ้น ซึ่งกำไรของผู้ถือหุ้นก็เป็นเรื่องที่สำคัญ คนที่เป็นผู้ถือหุ้นที่มาลงทุนกับเรา นอกจากเงินปันผลแล้วเขายังคงต้องการมูลค่าหุ้นที่สูงขึ้นด้วย ซึ่งเป็นภาระของเราต้องทำควบคู่กัน

ตัดตอนจาก
http://www.businessthai.com/