WELCOME

ขอต้อนรับทุกท่านครับ
วันนี้ผมอยากจะบันทึกสิ่งต่าง ๆที่ได้รับรู้รับทราบเอาไว้ เผื่อจะได้ทบทวนความจำ
และเป็นเวทีแลกเปลี่ยนกับเพื่อนๆที่มีความสนใจในเรื่องราวที่เกี่ยวกับการบริหาร
แต่อย่าคาดหวังอะไรจากบลอกของผมนะครับ เพราะไม่ได้มุ่งหวังจะให้เป็นแหล่งอ้างอิงในทางวิชาการ เผลอๆ ไม่รู้ว่าที่พูดไปเขียนไปจะผิดถูกแค่ไหนก็ไม่อาจรับประกันได้
เอาเป็นว่าแค่เอาไว้แลกเปลี่ยนกันก็แล้วกันนะครับ

วันอาทิตย์ที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2550

Creative Industry ของไทย

ดร.อาคม เติมพิทยาไพสิฐ รองเลขาธิการสภาพัฒน์ฯ ท่านวิเคราะห์ไว้อย่างนี้

“อุตสาหกรรมเชิงสร้างสรรค์ หากเทียบกับเกาหลีใต้ เราถูกทิ้งไปอย่างน้อย 10 ปีเพราะ การจะผลักดันเรื่องนี้ ขึ้นกับทางการเมืองด้วยว่า ผู้บริหารประเทศให้ความสำคัญในเรื่องนี้แค่ไหน และใครจะเป็นเจ้าภาพที่ชัดเจนในการขับเคลื่อนเพราะ วันนี้มีไม่น้อยกว่า 15 หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ และต่างคนต่างทำ จึงทำให้การพัฒนาไม่สามารถเดินไปได้อย่างครบวงจร ไม่ว่าจะเป็นการอนุรักษ์ฟื้นฟู วิจัยพัฒนา การตลาด และบุคลากร”

ดร.อาคมยังทิ้งท้ายไว้ว่า ในส่วนตัวน่าจะตั้ง “องค์กรพิเศษ” ขึ้นมาเป็นเจ้าภาพรับผิดชอบในเรื่องนี้ และมีเป้าหมายชัดเจนว่า ในอีก 5 ปีหรือ 10 ปีข้างหน้า เราอยากเป็นภาพอุตสาหกรรมเชิงสร้างสรรค์ของไทยอย่างไร เพราะ การทำเรื่องนี้ ไม่ใช่จะทำได้ทันทีเพราะ ต้องทำวิจัย และพัฒนาหลายปี กว่าจะคลอด Action Plan ออกมาได้ อย่างเช่น เกาหลีใต้วันนี้ที่เติบโตเร็วมาก และส่งสินค้าวัฒนธรรมออกมาตีตลาดโลก เขาคิดกันมาเป็นสิบปี กว่าจะส่งผลเป็นเม็ดเงินที่กอบโกยเข้าประเทศได้ในขณะนี้

กระบวนการคิดและผลักดัน Creative Industry มีความสำคัญมากเพราะ เป็นการขับเคลื่อนด้วยสมอง ที่สามารถสร้าง “มูลค่าเพิ่ม”ได้ อย่างเช่น สตีฟ จ็อบส์ ผลิตไอโฟนขายดีทั่วโลกจำนวนหลายล้านเครื่อง ชิ้นส่วน และ การผลิตอยู่ในประเทศจีน โดยสตีฟเป็นเพียงคนคิด และควบคุม ที่สำคัญคือ สามารถกินส่วนต่างการการตลาดได้มากที่สุดด้วย

ประเทศไทยวันนี้ยังอยู่ใน “ขั้นเริ่มต้น” และยังไม่รู้ด้วยว่า รัฐและเอกชนจะเดินไปทิศทางไหนเพราะ การผลักดันจะต้องดูตั้งแต่ต้นนำถึงปลายน้ำ และมองอย่างบูรณาการแบบครงวงจร เหมือนเช่น ญี่ปุ่น หรือเกาหลีใต้ที่ดำเนินอยู่ในขณะนี้ โดยตั้งเป็นองค์พิเศษขึ้นมาดูแลเป็นการเฉพาะ และเป็น “มันสมอง” ที่คอยคิดว่า จะสร้าง content และต่อยอดได้อย่างไร ไม่ว่าจะเป็นด้านภาพยนต์ เกม แอนนิเมชั่น ดนตรี และศิลปะ

อ่านแล้วเอาไปคิดเป็นการบ้านหน่อยนะครับว่า คุณครูในโรงเรียนจะต้องสอนอะไรเด็กดี จึงจะตามคนอื่นเขาทัน

แนวทางใหม่ในการบริหาร

สรุปจากคำบรรยายของ ผศ.ดร.สรายุทธ์ เศรษฐขจร
หลักสูตรปริญญาโท การบริหารการศึกษา
มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา


1. 360 Degree Administration
: การบริหารยุคใหม่ต้องใช้มุมมองให้รอบด้าน มองทุกมิติ มองชีวิตทั้งชีวิต (whole life) คนมีชีวิตใจ เลือดเนื้อ มีความคิดความเชื่อเป็นของตน มีสายสัมพันธ์ มีสังคม มีปัญหาส่วนตัว จึงต้องมองให้เห็นความทุกข์ความสุข ข้อเด่นข้อด้อย เพื่อใช้เป็นข้อมูลองค์ประกอบในการบริหาร โดยใช้กลยุทธ์และช่องทางที่มีประสิทธิภาพที่สุด

2. Analysis by Research
: ใช้การวิจัยเป็นเครื่องมือในการบริหาร ต้องใช้ผลการวิจัยทั้งในการวางแผนพัฒนาองค์กรและในการวินิจฉัยสั่งการ แต่ไม่จำเป็นต้องออกแบบสำรวจ หรือแบบสอบถามทุกครั้ง บางองค์กรที่มีสมาชิกน้อย ก็อาจใช้การประชุมแลกเปลี่ยนความคิดเห็น สอบถามความคิดความต้องการของทุกคนได้ จะทำให้การแก้ปัญหาเป็นไปอย่างถูกต้องและเป็นระบบ
3. Flexi-Administration
: การบริหารยุคใหม่ต้องมีความยืดหยุ่น ไม่ตึงเกินไป และไม่หย่อนเกินไป ....บ้านเมืองต้องมีกฎหมายฉันใด โรงเรียนก็ต้องมีวินัยฉันนั้น รักษาสมดุลของFit&Fix ด้วย ต้องให้พอดี พอเหมาะ(Fit) ไม่ใช่ยึดติดกับกฏเกณฑ์จนกระดิกกระเดี้ยไม่ได้(Fix)
4. Purposive Budget
: ใช้การบริหารงบประมาณแบบเจาะจง ตามเนื้องานที่ทำ ไม่ใช่แบ่งเค้กกัน เช่น มี 8 กลุ่มงาน ก็แบ่งให้เท่า ๆ กันไปเลย แทนที่จะดูตามบทบาท ภารกิจ ความต้องการจำเป็นของแต่ละกลุ่มงาน
5. Feedback
: มีการให้ข้อมูลป้อนกลับ มีการให้รางวัลตอบแทนผลการปฏิบัติงาน มีการวัดผลประเมินผลที่มีประสิทธิภาพ



ในฐานะผู้นำ อ่านแล้วลองนำไปประยุกต์ใช้ในการบริหารนะครับ

การบริหารสู่ความเป็นเลิศ

ถามว่า อะไรคือความเป็นเลิศ ดูตรงไหน
ผู้รู้บอกว่า ดูกัน 3 ตัวครับ

1. ประสิทธิผล
2. ประสิทธิภาพ
3. ความพึงพอใจ(ของทุกฝ่าย)

องค์กรทุกองค์กรคงต้องการที่จะพัฒนาตนเองไปสู่องค์กรแห่งความเป็นเลิศ
เพราะว่าในยุคปัจจุบันนี้คงเป็นไปไม่ได้ที่จะหยุดนิ่ง หรือดำรงสภาพแค่บริหาร
กิจการกันไปวัน ๆ โลกยุคใหม่ถูกท้าทายด้วยสิ่งที่เรียกว่า แรงท้าทายแห่งอนาคต
(FUTURE CHALLENGE)ได้แก่

ยุคแห่งการปฏิรูป
ยุคแห่การแข่งขัน
ยุค ไอที
ยุคของคนรุ่นใหม่ (คนรุ่นใหม่ ไม่มีความเชื่อ ไม่มีธรรมเนียม ไม่มี ฯลฯ)

สิ่งท้าทายเหล่านี้กดดันให้ทุกองค์กรต้องแสวงหาแนวทางสู่ความอยู่รอดและ
ประสบความสำเร็จต่อไปได้
มีคนคิดค้นตัวแบบ(MODEL)แห่งการพัฒนาองค์กรให้เป็นเลิศ ไว้หลายคน
ที่โด่งดังก็เช่น
เชอร์โต (Certo)ที่บอกว่าต้องพัฒนา 3 องค์ประกอบ
1. โครงสร้างขององค์กร ได้แก่ นโยบาย รูปแบบหรือแนวทางในการบริหาร
2. เทคโนโลยี ทั้งในด้านกระบวนการและเครื่องมือ
3. คน ด้านเจตคติ ทักษะผู้นำ ทักษะการสื่อสารเป็นต้น

ท่านผู้อ่านคิดว่าองค์ประกอบไหนสำคัญที่สุดครับ
ท่านคงเห็นด้วยกับผู้เขียนนะครับว่า ไม่มีอะไรจะสำคัญไปกว่า คน หรอกครับ

คนที่ไม่ใชแค่ MAN แต่หมายถึง HUMAN มีชีวิตจิตใจ มีศักดิ์ศรี
จะเอาหลักทฤษฎีไหนมาใช้ ก็คงหนีไม่พ้นที่จะต้องลงที่คน เพราะคนเป็นผู้ปฏิบัติทุกอย่าง
รูปแบบหรือกระบวนการที่จะใช้กับคนจึงต้องระมัดระวังและให้ความสำคัญเป็นอันดับหนึ่ง

ถ้าคนมีแรง๗งใจ มีขวัญกำลังใจที่ดี มีความพึงพอใจ
มีหรือ งานจะไม่สำเร็จ

เห็นด้วยไหมครับ

วันเสาร์ที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2550

คุณธรรมของนักบริหาร (CEO)

คุณธรรมของนักบริหาร (CEO)

นักบริหารคือใคร Plato นักปราชญ์ชาวกรีกได้แบ่งบุคคลออกเป็น 3 จำพวก คือ 1. คนงานและทาส ทำหน้าที่สิ่งทีมนุษย์ต้องการ
2. พวกคุ้มครองป้องกัน 3. พวกนักปราชญ์
นักบริหารที่จะทำงานได้สัมฤทธิ์ผล และสำเร็จตามเป้าหมายของหน่วยงานนั้น ๆ นักบริหารจะต้องมีคุณธรรม คุณธรรม(Virtue) หมายถึง
การทำให้เกิดคุณงามความดี การทำดี การละความชั่วทั้งปวง หรือคุณธรรม ผู้ที่มีคุณธรรม คือ ผู้ที่มีความเคยชิน ประพฤติด้วยความรู้สึกใน
ทางที่ดีงาม
Plato ได้แบ่งประเภทคุณธรรมไว้เป็น 4 อย่าง
1.) ปรีชาญาณ 2.) ความกล้าหาญ 3.) การรู้จักประมาณ 4.) ความยุติธรรม
Aristotle ชาวกรีก บิดาแห่งรัฐศาสตร์ได้รับหลักคุณธรรมมาจาก Plato นำมาแก้ไขใหม่ จากปรีชาญาณ เป็นความรอบคอบ คุณธรรม 4
ประเภทตามความคิดของ Aristotle คือ 1.) ความรอบคอบ (Prudence) 2.) ความกล้าหาญ (Courage) 3.) การรู้จักประมาณ
(Temperance) 4.) ความยุติธรรม (Justice)

นักบริหารต้องยึดธรรมเป็นหลักในการปฏิบัติงานคือ

ทศพิธราชธรรม คือ ธรรมของพระราชา คุณธรรมของผู้ปกครองบ้านเรือน
1 ) ทาน คือ การให้ 2) ศีล ความประพฤติดี 3) ปริจจาคะ คือ การบริจาก
4 )อาชชวะ คือ ความซื่อตรง 5) มัททวะ คือ ความอ่อนโยน 6 )ตปะ คือ ความทรงเดช
7 )อักโกธะ คือ ความไม่โกรธ 8) อวิหิงสา คือ ความไม่เบียดเบียน
9 )ขันติ คือ ความอดทน 10) อวิโรธนะ คือ ไม่คลาดธรรมคือวางตนเป็นหลักหนักเน้นในธรรมพรหมวิหาร 4 ธรรมเครื่องอยู่อย่างประเสริฐ ธรรมประจำใจอันประเสริฐ
1) เมตตา ความรักใคร่ปรารถนาให้เป็นสุข
2) กรุณา คิดช่วยให้พ้นทุกข์
3)มุทิตา ความยินดีเมื่อผู้อื่นเป็นสุข
4) อุเบกขา ความวางใจเป็นกลาง
คุณธรรมนักบริหารที่ดีต้องมีอะไรที่พิเศษเพิ่มเติมจากหลักธรรม คือ
1. ) มีความรู้เหนือผู้อื่น
2.) สามารถตัดสินใจเอาเอง
3.) มีความรับผิดชอบสูง
4. ) มีมนุษย์สัมพันธ์ดี
5. )มีความคิดริเริ่ม
6.) รู้จักให้ขวัญและกำลังใจ ผู้บังคับบัญชาไม่ตำหนิผู้ใต้บังคับบัญชา
ในที่ประชุม
7.) รู้จักตัวบุคคล รู้จักใช้คนสะสางงานที่ควร
8.) ปกป้อง ผู้ใต้บังคับบัญชา
9. )ทำงานอย่างมีแผนและเป้าหมาย
10.) รู้ให้และรับ

เคล็ดลับนักบริหารสู่ความสำเร็จ

เคล็ดลับนักบริหารสู่ความสำเร็จ

เคล็ดลับนักบริหารที่นำเสนอนี้ การนำไปใช้
ต้องนำไปใช้อย่างเป็นระบบ

เคล็ดลับที่ 1 คือการมีวิสัยทัศน์ (Vision) นัก
บริหารที่ดีต้องมีวิสัยทัศน์กว้างไกลสามารถมอง
ภาพอนาคตข้างหน้าอย่างแม่นยำด้วยสายตาเฉีบคม โดย
ใช้ความรู้ความสามารถ ประสบการณ์ในการตัดสอนใจ
เคล็ดลับที่ 2 การแก้ปัญหา (Problem
Solving) นักบริหารจะต้องแก้ปัญหาด้วยความฉับไว ไม่
ปล่อยให้ปัญหาบานปลาย ไม่สร้างปัญหาใหม่ แลป้องกัน
ไม่ให้เกิดปัญหาเดิมซ้ำซาก
เคล็ดลับที่ 3 การตัดสินใจ (Decision
Making) นักบริหารจะต้องกล้าตัดสินใจที่จะทำอะไรหรือ
ไม่ทำอะไรอย่างใดอย่างหนึ่งการตัดสินใจต้องอยู่บนราก
ฐานของข้อมูลที่ถูกต้องและเที่ยงตรง ละเอียดรอบคอบ
และต้องคำนึงถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้นภายหลัง
เคล็ดลับที่ 4 ความรับผิดชอบ
(Responsibility) นักบริหารจะต้องรับผิดชอบในทุกเรื่องที่
อยู่ในความรับผิดชอบเมื่อทำผิดพลาดจะต้องไม่โยนความ
ผิดให้กับคนอื่น นักบริหารจะต้องนำความผิดพลาดมาเป็น
บทเรียน เพื่อไม่ให้เดความผิดซ้ำซาก
เคล็ดลับที่ 5 ความกล้าหาญ
(Couragement) นักบริหารต้องมีความกล้าหาญ จะ
ต้องกล้าคิด กล้านำ กล้าทำ กล้าแสดงความคิดเห็น
กล้าแนะนำ กล้าต้องสู้ และกล้ารับผิด ความกล้าหาญ
จะต้อง อยู่บนพื้นฐานของเหตุและผลโดยใช้สติและ
ปัญญาคอยกำกับ
เคล็ดลับที่ 6 ความคิด (Idea) นักบริหารจะ
ต้องมีความคิดใหม่ ๆ มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์มีความคิด
แปลกใหม่ไม่ซ้ำใครคิดอย่างเป็นระบบและกล้านำความคิด
ไปปฏิบัติให้เกิดผลเป็นรูปธรรม
เคล็ดลับที่ 7 ความมุ่งมั่น (Concentration)
นักบริหารต้องมีความมุ่งมุ่นเพื่อไปสู่วิสัยทัศน์
เป้าหมาย จุดหมายปลายทาง และความสำเร็จ
เคล็ดลับที่ 8 ความเชื่อมั่น (Confidence)
นักบริหารจะต้องมีความเชื่อมั่นทั้งเชื่อมั่นตนเอง
เชื่อมั่นทีมงาน และเชื่อมั่นองค์การ ประการสำคัญนัก
บริหารจะต้องสร้างความเชื่อมั่นให้กับทีมงานและองค์กร
เพื่อให้พัฒนาทีมงานและองค์กรให้ประสบความสำเร็จ
อย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน
เคล็ดลับที่ 9 ความเชื่อถือแลศรัทรา (Relief
and Faith) นักบริหารจะต้องสร้างความเชื่อถือและ
ศรัทราให้กับทีมงาน องค์กรและหน่วยงานต่าง ๆ
ประชาชนยอมรับ
บทสรุป เคล็ดลับนักบริหารทั้ง 9 เคล็ดลับนี้
เป็นเพียงตัวอย่างเบื้องต้นที่นักบริหารจะต้องมี เพื่อให้
ผู้อ่านได้คิดต่อและขยายความคิดออกไปในวงกว้าง ดังนั้น
ทุกคนจึงมีความสามารถคิดเคล็ดลับนักบริหาร (ของตน
เอง) ได้อีกมากมายเพื่อเป็นแนวทางในการบริหารงานให้
เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผล อันนำไปสู่การเป็น
นักการเมืองมืออาชีพอย่างแท้จริง

ไพบูลย์ ตั้งมีลาภ. (2545, สิงหาคม). “เคล็ดดลับนัก
บริหาร,” วารสารพัฒนาชุมชน.
41(8) : 25-27.

5s Model

องค์การสมัยใหม่ : ตัวเเบบห้าเอส

1. ความนำ
ปัจจุบันสภาพเเวดล้อมได้เปลี่ยนเเปลงไปอย่างรวดเร็วเเละสลับซับซ้อนมากขึ้น องค์การต้องเพิ่มขีดความสามารถในทุกๆด้านเพื่อ
ปรับตัวเข้าสู่องค์การสมัยใหม่ที่มุ่งสู่ความเป็นเลิศ
2. การบริหารองค์การเริ่มต้นที่ระบบราชการ
โดยเชื่อว่าองค์การจะมีประสิทธิภาพต้องใช้โครงสร้างแบบระบบราชการ
3. กระบวนทัศน์ที่ต้องเเปรเปลี่ยน
การบริหารองค์การเปลี่ยนจากขนาดใหญ่สู่ขนาดเล็ก ซึ่งก่อให้เกิดความพึงพอใจเเก่ผู้รับบริการ ความมีประสิทธิภาพ ซึ่งกระบวน
ทัศน์ทางการบริหารที่ควรนำมาใช้ได้เเก่ การปกครองที่ดีไม่มีระบบอุปถัมภ์ การบริหารเน้นประสิทธิภาพ ประสิทธิผล การให้บริการตรงตาม
ความต้องการเป็นบริการเเบบพิเศษ ปรับกลยุทธ์ให้เป็นเลิศ ปฏิบัติงานด้วยวิธีที่ดีที่สุด
แนวคิดของการบริหารองค์การสมัยใหม่ ต้องมีโครงสร้างดังนี้
ประการเเรก องค์การเเบบสิ่งมีชีวิต (organic organization ) ที่มุ่งเน้นการทำงานอย่างมีความสุข มีการทำงานหลายๆด้าน
ประการที่สอง องค์การเเห่งการเรียนรู้ ( learning organization ) มุ่งเน้นทำงานด้วยและเรียนรู้ควบคู่กันไป เรียนรู้จาก
ประสบการณ์ ให้องค์การเป็นศูนย์การเรียนรู้
ประการที่สาม องค์การเเห่งความเป็นเลิศ ( excellent organization ) มุ่งสู่ความเป็นที่หนึ่ง เป็นแชมป์ไม่เป็นสองรองใคร โดยมุ่ง
สู่มาตรฐานสากล
ประการที่สี่ องค์การเเห่งกลยุทธ์ ( strategic organization ) ที่มุ่งเน้นการปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ โดยให้ความสำคัญต่อ
ปัจจัยสภาพเเวดล้อมของงาน
4. สู่ตัวเเบบห้าเอส : ( 5’S Model )
องค์การสมัยใหม่ต้องมุ่งสู่ตัวแบบห้าเอส ได้แก่
(1) SMALL : จิ๋วเเต่เเจ๋ว องค์การสมัยใหม่จะมีขนาดเล็กลงเเต่มีคุณภาพมากขึ้น จะประกอบด้วย
S = Shamrock Organization หมายถึง องค์การจะมีส่วนงานหลัก ส่วนงานรับเหมาเเละส่วนงานชั่วคราว
M = Merit System หมายถึง ระบบคุณธรรมที่ยึดคนดีมีความรู้ความสามารถ
A = Architect หมายถึง สถาปนิกองค์การที่ต้องจัดโครงสร้างและออกแบบองค์การให้ผู้รับบริการพึงพอใจ
L = Little Area หมายถึง ขอบเขตพื้นที่เล็กลง เพื่อให้สามารถบริการลูกค้าโดยเเบ่งเขตพื้นที่จะถูกนำไปใช้มากขึ้น
L = Linking Pin Concept หมายถึงเเนวคิดหมุดเชื่อมโยงที่มีการผนึกกำลังร่วมกันตั้งเเต่พนักงานทุกคน ทุกเเผนก
(2) SMART : ฉลาดทรงภูมิปัญญา องค์การสมัยใหม่มุ่งสู่ความเฉลียวฉลาด มีความเเปลกใหม่ มีนวัตกรรมใหม่ จะประกอบด้วย
S = Shared Vision หมายถึง วิสัยทัศน์ร่วมสร้างจินตนาการ พยากรณ์เเละฉายภาพองค์การในอนาคตร่วมกัน
M = Mental Model หมายถึง ตัวเเบบความคิดที่สะท้อนความคิดเเบบวิทยาศาสตร์
A = Ability หมายถึง ความสามารถของผู้บริหารและพนักงานต้องอยู่ในระดับมาตรฐาน
R = Readiness หมายถึง ความพร้อมด้านการวางเเผน การประกันคุณภาพ เเละระบบมาตรฐานไอเอสโอ
T = Technology หมายถึงเทคโนโลยีสารสนเทศ ที่ก่อให้เกิดการทำงานเเละการบริการที่รวดเร็วมากขึ้น
(3) SMILE : ยิ้มเเย้มเปี่ยมน้ำใจ องค์การที่มีความสุข จะประกอบด้วย
S = Sense of belonging หมายถึง ความรู้สึกเป็นส่วนหนึ่ง หรือเป็นเจ้าของหรือหุ้นส่วนขององค์การ
M = Music หมายถึง ดนตรีในหัวใจ องค์การที่มีสุนทรียภาพมีเสียงเพลง มีความฉลาดทางอารมณ์
I = Impression หมายถึง การให้บริการที่สร้างความประทับใจให้เเก่ลูกค้า
L = Loveliness หมายถึง องค์การที่น่ารักสำหรับทุก ๆ คน ทั้งเรา เพื่อนร่วมงานเเละลูกค้า
E = Enjoy หมายถึง สนุก ทำงานด้วยความสนุกสนานท้าทายเเละอยากจะทำ
(4) SMOOTH : ความร่วมมือไร้ความขัดเเย้ง องค์การไม่มีความขัดเเย้งเเละมีการผนึกความร่วมมือ จะประกอบด้วย
S = Synergism หมายถึง ระบบการผนึกกำลังร่วมมือของทุกฝ่าย
M = Motivation หมายถึง การจูงใจ ให้ค่าตอบเเทนที่เป็นธรรม มีระบบประเมินผลการปฏิบัติงาน
เเละให้ค่าตอบเเทนเป็นชิ้นงาน
O = Optimistic หมายถึง การมองโลกในเเง่ดีเป็นการเเปลงวิกฤติให้เป็นโอกาส ส่งเสริมให้คนริเริ่มสร้างสรรค์มากขึ้น
O = Open – Minded หมายถึง การเปิดใจที่องค์การต้องมีความจริงใจซึ่งกันเเละกัน
T = Teamwork หมายถึง การทำงานเป็นทีม งานเเละเทคนิคการทำงานที่สอดคล้องไม่เป็นทางการให้คำนึงถึงผลงาน
(5) SIMPLIFY : ทำเรื่องยากให้ง่ายเเละรวดเร็ว องค์การต้องปรับปรุงให้ง่ายขึ้น จะประกอบด้วย
S = Speed หมายถึง การทำงานให้รวดเร็ว คิดก่อนทำ คิดล่วงหน้า เเละกระทำล่วงหน้า
I = Informal หมายถึง การไม่เป็นทางการ สามารถให้บริการตลอดเวลาไม่จำกัดเฉพาะเวลาราชการ
M = Media หมายถึง การใช้สื่อเพื่อสร้างความเข้าใจที่ถูกต้อง ให้งานประสบความสำเร็จเเละมีประสิทธิภาพ
P = Policy หมายถึงนโยบาย โดยกำหนดนโยบายสู่การบริหารคุณภาพ ทำงานได้มาตรฐาน
L = Life – Long Learning หมายถึง พนักงาน บุคคลเเละผู้บริหารมีการเรียนรู้ตลอด มีการศึกษาอบรมเพิ่มเติม
I = Indicator หมายถึง องค์การต้องสร้างมาตรวัดเพื่อเทียบเเข่งกับองค์การที่ประสบความสำเร็จเเละปรับปรุงสู่มาตรฐาน
F = Function หมายถึง ทำเกินหน้าที่ โดยให้ความช่วยเหลือองค์การเมื่อว่างงาน โดยไม่ยึดฝ่ายหรือเเผนกเป็นสำคัญ
Y = Youthfulness หมายถึง องค์การต้องปรับให้มีความคล่องตัวในการปฏิบัติงาน เเละควรปรับวิธีการทำงานให้เหมาะสม


เสน่ห์ จุ้ยโต. (2545, มกราคม-เมษายน). “องค์การสมัยใหม่ : ตัวเเบบห้าเอส,” วารสารสุโขทัยธรรมาธิราช.
15(1) : 48-55.

บันได 7 ขั้นของ ไบรอัน เทรซี่

บันได 7 ขั้นของการคิดบนกระดาษเพื่อความสำเร็จ

ไบรอัน เทรซี่ หนึ่งในต้นตำรับแห่งผู้นำของสหรัฐอเมริกาในการพัฒนาศักยภาพมนุษย์ ผู้ประสบความสำเร็จในอาชีพการงานทางด้านการขายและการตลาด ด้านการลงทุน และการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์เป็นเจ้าของหนังสือขายดีที่ถูกแปล 20 ภาษาและใช้ใน 38 ประเทศอย่างเรื่อง “ความสำเร็จขั้นสูงสุด” (Maximum Achievement)
ไบรอันได้แนะนำในหนังสือ “กินกบตัว นั้นซะ” (Eat that frog !) ไว้ว่า ก่อนที่คุณจะตัดสินใจว่ากบตัวไหนเป็น “กบ” ของคุณและลงมือกินมัน คุณต้องตัดสินใจให้ได้ก่อนว่า อะไรคือสิ่งที่คุณต้องการเอาชนะในแต่ละแง่มุมของชีวิตคุณ คุณยิ่งชัดเจนในสิ่งที่ต้องการ และสิ่งที่ต้องทำมากเท่าไหร่ ก็ยิ่งง่ายขึ้นมากเท่านั้นที่คุณจะเอาชนะนิสัยชอบผัดวันประกันพรุ่ง
เหตุผลสำคัญในการผัดวันประกันพรุ่งและการขาดแรงบันดาลใจคือความคลุมเครือ ความสับสน และความเลื่อนลอยว่าคุณควรต้องทำอะไร ทำอย่างไร และทำเพื่ออะไร
ไบรอันบอกว่า กฎอันยิ่งใหญ่สู่ความสำเร็จคือการคิดบนกระดาษโดยตัดสินใจให้แน่นอนว่าคุณต้องการอะไร ความชัดเจนเป็นเรื่องสำคัญ เขียนเป้าหมายและจุดประสงค์ของคุณขึ้นมาก่อนที่คุณจะเริ่มลงมือ หลังจากนั้นปฏิบัติตามเป้าหมายที่เขียนไว้ด้วยวิธีบันได 7 ขั้นแบบง่ายๆ ดังนี้
บันไดขั้นที่หนึ่ง : ตัดสินใจให้แน่ชัดว่า คุณต้องการอะไร อาจจะตัดสินใจด้วยตัวคุณเอง หรือนั่งปรึกษาหารือกับเจ้านายถึงเป้าหมายและวัตถุประสงค์ของคุณ จนกว่าคุณจะเข้าใจชัดเจนว่า พวกเขาคาดหวังอะไรจากคุณและอะไรต้องมาก่อนมาหลัง เพราะปัจจุบันพบมากว่ามีการใช้เวลาอย่างไร้ค่าที่สุด คือการทำอะไรบางอย่างได้ดีมากแต่เป็นอะไรบางอย่างที่ไม่จำเป็นต้องทำสักนิด
บันไดขั้นที่สอง : จดหรือเขียนไว้บนกระดาษ เวลาที่คุณเขียนเป้าหมายของคุณเป็นลายลักษณ์อักษร มันหมายความว่าคุณกำลังทำให้มันกลายเป็นรูปธรรมขึ้นมา สร้างสิ่งที่สัมผัสและมองเห็นได้ เป้าหมายที่ไม่ได้เป็นลายลักษณ์อักษร เป็นเพียงความเพ้อฝันเท่านั้น
บันไดขั้นที่สาม : กำหนดขีดเส้นตายให้กับเป้าหมายของคุณ เป้าหมายหรือการตัดสินใจที่ปราศจากการกำหนดขีดเส้นตายจะไร้ซึ่งความร้อนรน จะไม่มีจุดเริ่มต้นหรือจุดจบที่แท้จริง ทำให้เกิดการผัดวันประกันพรุ่งและทำงานได้น้อยมาก
บันไดขั้นที่สี่ : ทำรายการทุกอย่างที่คุณคิดว่าคุณต้องทำเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย เมื่อคุณคิดถึงกิจกรรมใหม่ๆ ขึ้นมาได้จงเขียนเพิ่มเติมเข้าไป สร้างรายการของคุณขึ้นเรื่อยๆจนกระทั่งมันเสร็จสมบูรณ์ รายการที่ทำขึ้นจะทำให้มองเห็นภาพของงานหรือของจุดประสงค์ที่ใหญ่กว่า ช่วยให้คุณเห็นแนวทางในการลงมือและยังช่วยเพิ่มแนวโน้มว่าจะบรรลุเป้าหมายตามที่ต้องการและตรงตามกำหนดเวลาอีกด้วย
บันไดขั้นที่ห้า : เรียบเรียงรายการให้เป็นแผนการ ตามลำดับความสำคัญและลำดับเหตุการณ์ และจะดียิ่งขึ้นถ้าคุณวาดแผนการของคุณด้วยการตีกรอบหรือวงกลมรายการต่างๆ บนแผ่นกระดาษ
บันไดขั้นที่หก : ลงมือทำตามแผนการโดยทันที จงทำอะไรสักอย่างทำอะไรก็ได้ แผนการธรรมดาทั่วไปที่ได้รับการลงมือปฏิบัติอย่างขยันขันแข็ง ย่อมดีกว่าแผนการชั้นเยี่ยมที่ไม่มีการลงมือทำอะไรเลย
บันไดขั้นที่เจ็ด : ตั้งปณิธานว่าทุกๆ วันจะต้องทำอะไรบางอย่างที่จะพาคุณมุ่งตรงไปสู่เป้าหมายหลัก อ่านหัวข้อสำคัญให้ได้ตามจำนวนหน้าที่กำหนดไว้ เช่น โทรไปหาลูกค้าหรือว่าที่ลูกค้าตามจำนวนที่กำหนด เรียนรู้คำศัพท์ใหม่ในภาษาต่างประเทศให้ได้ตามจำนวนที่กำหนด เป็นต้น
เพราะ “เวลา” เป็นทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดใน 1 วันมีเพียง 24 ชั่วโมง แต่ทุกๆ คนต่างมีทรัพยากรนี้อย่างเท่าเทียมกัน เพียงแต่ว่าใครจะรู้จักจัดสรรทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดของตัวเองอย่างไร
ที่มา
ดนัย จันทร์เจ้าฉาย [28-9-2002]
จากบทความ “ ความสำเร็จอยู่ที่นี่ ”
http://www.businessthai.co.th/content.php?data=404055_Opinion

พอเพียงเพื่อพ่อ

วันนี้มีข้อคิดดีๆของอาจารย์หมอประเวศมาฝากครับ

"หมอประเวศ" เตือนรัฐบาลพาคนไทยบริโภคนิยมนำชาติสู่หายนะ


หมอประเวศ" ชี้คนไทยบริโภคนิยมหนทางสู่หายนะ เตือนรัฐบาลอย่ามุ่งเน้นแต่การกระตุ้นจีดีพี แนะทางออกใช้เศรษฐกิจพอเพียงตามทฤษฎีในหลวง ขณะที่องคมนตรีเผยกองทุนหมู่บ้านมีปัญหา ค้านรัฐอัดเงินเอสเอ็มแอลลงรากหญ้า
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วิทยาลัยการจัดการทางสังคมได้จัดให้มีรายการสังคมสนทนาเรื่อง "การจัดการทางสังคมกับการเรียนรู้จากฐานชุมชน" ขึ้นที่ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดย ศ.นพ.ประเวศ วะสี ราษฎรอาวุโสได้ กล่าวตอนหนึ่งของการสนทนาว่า วัฒนธรรมการบริโภคนิยม วัตถุนิยม เงินนิยม และอำนาจนิยม เหมือนที่กำลังเป็นกันอยู่ในขณะนี้เป็นหนทางนำไปสู่ความหายนะ ทุกวันนี้วัดความเจริญ หรือคุณภาพของสังคมจากจีดีพี แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าจีดีพีเป็นคำตอบที่ถูกต้องและชอบธรรมทางสังคม และเสริมสร้างสังคม แต่ความสัมพันธ์และการพัฒนาจิตใจต่างหากที่เเป็นสิ่งที่สร้างให้สังคมเข้มแข็ง ซึ่งหากใครจะสู้กับการเมืองแบบเก่าที่เน้นเรื่องทุนและบริโภค สามารถนำเอาแนวทางนี้ไปสู้ได้อย่างชัดเจน
ศ.น.พ.ประเวศ กล่าวถึงสภาวะน้ำมันราคาแพงว่า ส่วนหนึ่งเป็นเพราะนโยบายตั้งแต่อดีตที่มีความผิดพลาด ถ้าน้ำมันราคาสูงขึ้นไปหากคุมไม่ได้ สินค้าก็จะราคาสูงตามไปด้วย เมื่อเป็นเช่นนี้ก็จะนำไปสู่ความรุนแรง นโยบายที่ผิดพลาดอย่างหนึ่งคือนโยบายเรื่องการขนส่ง การขนส่งที่ถูกต้องพึ่งรถไฟและเรือกลไฟให้มาก ไม่ใช่มานั่งพึ่งรถสิบล้อเหมือนในตอนนี้ แต่ปัญหาคือใครเป็นคนกำหนดนโยบาย คนที่กำหนดคือคนที่ต้องการให้มีการสร้างถนน สร้างรถ คนที่ผลิตน้ำมัน นี่คือผลร้ายของนโยบายสาธารณะที่ไม่ถูกต้องซึ้งกำหนดโดยคนกลุ่มน้อย
"เรายังไปส่งเสริมการไปซื้อของที่ห้างสรรพสินค้า ที่ต้องใช้พลังงานมากๆ แทนที่จะให้ซื้อที่ร้านค้าชุมชนที่ไม่ต้องใช้ไฟเลย ดังนั้นต่อไปเราจะมีนโยบายอะไรต้องคิดให้ดี ไม่ใช่เป็นนโยบายแบบแดกด่วน ซึ่งนายแพทย์เกษม วัฒนชัย องคมนตรี ได้เคยบอกว่าหากเป็นอย่างนี้ ต่อไปไม่เกินปีครึ่งต้องเกิดวิกฤตความรุนแรงแน่นอน" ศ.น.พ.ประเวศ กล่าว
ราษฏรอาวุโสกล่าวต่อว่า การสร้างเศรษฐกิจที่เน้นกระตุ้นการบริโภค พอเกิดปัญหาที่กระทบต่อราคาสินค้าขึ้นมาก็เกิดปัญหา ทางออกก็คือต้องพึ่งพาเศรษฐกิจพอเพียงตามทฤษฎีของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว อย่าไปมุ่งแต่กระตุ้น จีดีพี ต้องกระตุ้นให้เกิดพลังชุมชน คนไทยทุกคนต้องช่วยกันคิด ไม่ใช่หน้าที่ของใครคนหนึ่งเท่านั้น
"ส่วนเรื่องของรัฐบาลนั้น เป็นเรื่องการเมือง หากเขายืนยันว่าระบบทุนนิยม บริโภคนิยมดี ก็ให้เขาชี้แจง ส่วนเราก็ต้องนำเสนอเหตุผล หากแนวทางของรัฐถูกก็ต้องอนุโมทนา แต่หากแนวทางของเราถูกเราก็ต้องรณรงค์ต่อไป และที่สำคัญเราต้องมีความรักต่อกัน อย่าไปเกลียดใคร อย่าไปเกลียดพันตำรวจโททักษิณ ชินวัตร ถึงจะปากร้ายไปหน่อยก็ตาม" ศ.น.พ.ประเวศ กล่าว
ด้าน ศ.น.พ.เกษม วัฒนชัย องคมนตรี กล่าวว่า เคยรับทราบข้อมูลจากนายสุธรรม อารีกุล อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ที่ทำงานกับชาวกะเหรี่ยงในภาคเหนือว่า ตอนนี้กองทุนหมู่บ้านมีปัญหา เพราะเมื่อมีกองทุนหมู่บ้านละล้านชาวบ้านกู้เงินเอาไปซื้อเครื่องใช้ไฟ้ฟ้า ไม่ได้เอาไปทำมาหากิน พอครบรอบต้องจ่ายคืนต้องไปกู้หนี้นอกระบบมาใช้คืน แล้วตอนนี้ถึงรอบต้องใช้คืนหนี้นอกระบบ แต่ชาวบ้านไม่มีซึ่งเป็นที่รู้กันว่าหนี้นอกระบบมีวิธีทวงอย่างไร ตอนนี้ชาวบ้านต้องหนีเข้าป่า เป็นครั้งแรกที่ชาวกะเหรี่ยงไม่ทำนาเพราะต้องหนีไปอยู่ในป่า นี่คือการจัดการของสังคมที่ไม่มีประสิทธิภาพ แล้วรัฐบาลยังจะเอาเงินเอสเอ็มแอลไปลงพื้นที่ ซึ่งจริงๆแล้วมีหมู่บ้านที่มีความพร้อมในการจัดการมีเพียง 15 เปอร์เซ็นต์ เท่านั้น

เมล์มาคุยกับผมได้นะครับ ที่ danghome1759@gmail.com ครับ
หรือจะไปอ่านบทความทางการบริหารก็ลองดูตรงนี้ครับ

ขอต้อนรับทุกท่านครับ

วันนี้ผมอยากจะบันทึกสิ่งต่าง ๆที่ได้รับรู้รับทราบเอาไว้ เผื่อจะได้ทบทวนความจำและเป็นเวทีแลกเปลี่ยนกับเพื่อนๆที่มีความสนใจในเรื่องราวที่เกี่ยวกับการบริหาร แต่อย่าคาดหวังอะไรจากบลอกของผมนะครับ เพราะไม่ได้มุ่งหวังจะให้เป็นแหล่งอ้างอิงในทางวิชาการ เผลอๆ ไม่รู้ว่าที่พูดไปเขียนไปจะผิดถูกแค่ไหนก็ไม่อาจรับประกันได้ เอาเป็นว่าแค่เอาไว้แลกเปลี่ยนกันก็แล้วกันนะครับ