WELCOME

ขอต้อนรับทุกท่านครับ
วันนี้ผมอยากจะบันทึกสิ่งต่าง ๆที่ได้รับรู้รับทราบเอาไว้ เผื่อจะได้ทบทวนความจำ
และเป็นเวทีแลกเปลี่ยนกับเพื่อนๆที่มีความสนใจในเรื่องราวที่เกี่ยวกับการบริหาร
แต่อย่าคาดหวังอะไรจากบลอกของผมนะครับ เพราะไม่ได้มุ่งหวังจะให้เป็นแหล่งอ้างอิงในทางวิชาการ เผลอๆ ไม่รู้ว่าที่พูดไปเขียนไปจะผิดถูกแค่ไหนก็ไม่อาจรับประกันได้
เอาเป็นว่าแค่เอาไว้แลกเปลี่ยนกันก็แล้วกันนะครับ

วันพฤหัสบดีที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2552

จากปรนัยเป็นอัตนัย

เยาวชนชี้ปรนัยทำลายชาติ เด็กทำข้อสอบได้แต่ไม่มีความรู้



ศ.ดร.ณรงค์ ปั้นนิ่ม อาจารย์สาขาคณิตศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (มศว) และประธานคณะกรรมการผู้ดูแลวิชาคณิตศาสตร์ มูลนิธิส่งเสริมโอลิมปิกวิชาการและพัฒนามาตรฐานวิทยาศาสตร์ศึกษา มูลนิธิส่งเสริมโอลิมปิกวิชาการและพัฒนามาตรฐานวิทยาศาสตร์ศึกษา ในพระอุปถัมป์สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ (สอวน.) เปิดเผยว่า

การจะทำให้เด็กไทยมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในวิชาคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์อยู่ในเกณฑ์ไม่ตกต่ำนั้น เราต้องเปลี่ยนแปลงวิธีการสอบเข้ามหาวิทยาลัย ตลอดถึงการออกข้อสอบในทุกระดับโดยเฉพาะข้อสอบเข้ามหาวิทยาลัยนั้นต้องเปลี่ยนแปลงจากปรนัยเป็นอัตนัย

อย่างในประเทศญี่ปุ่น มาเลเซีย อังกฤษ สิงคโปร์ ไม่ใช้ข้อสอบปรนัยในการสอบเข้ามหาวิทยาลัยเลย อยากเห็นสำนักทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (สทศ.) ซึ่งดูแลในเรื่องการออกข้อสอบต้องเปลี่ยนแปลงแนวคิดในการออกข้อสอบ

ทุกวันนี้เราเรียนเพื่อสอบเข่งขันกันมากเกินไป ครูเองก็สอนเพื่อให้นักเรียนไปทำข้อสอบ การเรียนเพื่อให้เห็นถึงหัวใจในรายวิชาต่างๆ แทบไม่มีจุดมุ่งหมาย ในแต่ละรายวิชาครูแทบไม่รู้ว่าสอนหรือให้เด็กเรียนไปเพื่ออะไร เพราะครูท่องอยู่คำเดียวว่าเรียนไปเพื่อสอบ เด็กถูกปลูกฝังอย่างนี้ เมื่อสำเร็จการศึกษาออกไปเป็นครู ก็ตกอยู่ในวงจรเดิมๆ จนยากที่จะแก้ไข

มีครูสักกี่คนที่สอนเด็กเพื่อความรู้จริงๆ ก่อนเรียนบอกเด็กเรื่องของจุดมุ่งหมายในแต่ละรายวิชา ผมไม่ได้มองว่าข้อสอบปรนัยมีแต่ข้อเสีย หากแต่เมื่อเราเอามาใช้เราใช้แบบฉาบฉวยมากเกินไป จนมันเกิดเป็นสิ่งที่เลวร้ายขึ้นกับระบบการศึกษาไทย

ทุกวันนี้เรายึดเรื่องสอบเป็นหลัก บางโรงเรียนถ้าเด็กคนใดไม่ใช่วิชาไหนไปสอบแทบไม่ต้องเรียนในรายวิชานั้น และบางรายวิชาครูก็ไม่ให้ความสนใจเด็กไม่ต้องเรียน ถ้าเราเรียนเพื่อความรู้เราต้องสอนให้เด็กรู้จุดประสงค์ของการเรียนในทุกรายวิชา เพราะแต่ละวิชาต่างมีคุณค่าและมีความงามในตัวเองแทบทั้งสิ้น

การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในรายวิชาคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ให้มีผลสัมฤทธิ์ที่ดีขึ้นนั้น เราต้องรื้อแนวคิดออกข้อสอบ การเรียนการสอนที่เน้นการทดสอบโดยใช้ข้อสอบอัตนัยให้มากขึ้น บางโรงเรียนให้นักเรียนเรียงความ ย่อความแต่ออกเป็นข้อสอบปรนัย

จะเห็นว่าทางการที่เราเน้นข้อสอบปรนัยมากๆ แม้กระทั่งการย่อความเรียงความ ส่งผลให้เด็กไทยเขียนอธิบายหรือย่อความ จับประเด็นไม่เป็น ผมอยากเห็นกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ต้องเป็นเอาจริงเอาจังและพร้อมจะปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์ในเรื่องการออกข้อสอบ แต่ต้องเอาจริงเอาจัง

บ่อยครั้งที่เราเห็น ศธ. มีแนวคิดแต่เมื่อลงมือปฏิบัติแล้วไม่สามารถทำได้ อย่างเช่นศธ.พูดเรื่องการบรรจุครูในโรงเรียนต่างๆ แต่ไม่ได้ดูว่าโรงเรียนแต่ละโรงขาดครูในวิชาใดบ้าง บ่อยครั้งที่เราเห็นครูที่จบพละศึกษาต้องไปสอนวิชาคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ซึ่งถ้ายังเป็นเช่นนี้อยู่อย่าหวังว่าผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาของเด็กไทยจะดีขึ้น

ศ.ดร.ณรงค์ กล่าวอีกว่า ผมอยากจะให้ ศธ. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทบทวนเรื่องการเรียนซ้ำชั้น ทบทวนเรื่องข้อสอบปรนัยที่ใช้อยู่ในโรงเรียนต่างๆ ตลอดถึงการสอบเข้ามหาวิทยาลัย กันอยู่จนเกิดเป็นความเคยชิน ในสมัยก่อนมีคนเรียนซ้ำชั้นตอนม.8 แต่ความรู้ความเข้าใจเขามีมากขึ้น จนเขาสามารถสอบเข้าเรียนแพทย์ได้

ผมคิดว่าการเรียนซ้ำชั้นในปัจจุบันนี้ ยังมีความจำเป็นอยู่ เด็กจำนวนไม่น้อยสอบไม่ผ่านแก้ 0 เพื่อให้ผ่าน ซ่อมแล้วซ่อมอีกจนเบื่อจนตัวครูเองก็เบื่อ นักเรียนก็เบื่อ แต่สุดท้ายเด็กก็ผ่านไปได้แม้คุณภาพจะไม่ได้คุณภาพก็ตาม มันจึงเป็นการปล่อยๆ เด็กให้ผ่านไปโดยไร้คุณภาพ

ไม่มีความคิดเห็น: