WELCOME

ขอต้อนรับทุกท่านครับ
วันนี้ผมอยากจะบันทึกสิ่งต่าง ๆที่ได้รับรู้รับทราบเอาไว้ เผื่อจะได้ทบทวนความจำ
และเป็นเวทีแลกเปลี่ยนกับเพื่อนๆที่มีความสนใจในเรื่องราวที่เกี่ยวกับการบริหาร
แต่อย่าคาดหวังอะไรจากบลอกของผมนะครับ เพราะไม่ได้มุ่งหวังจะให้เป็นแหล่งอ้างอิงในทางวิชาการ เผลอๆ ไม่รู้ว่าที่พูดไปเขียนไปจะผิดถูกแค่ไหนก็ไม่อาจรับประกันได้
เอาเป็นว่าแค่เอาไว้แลกเปลี่ยนกันก็แล้วกันนะครับ

วันอาทิตย์ที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551

อย่ามัวแต่ทะเลาะกันเลยครับ คนอื่นเขาเป็นตาอยู่คว้าพุงไปกินแล้ว

ช่องว่างธุรกิจร้านอาหารไทย

จากการให้สัมภาษณ์พิเศษของ นายเกรแฮม เบรน ประธานเจ้าหน้าที่ผู้บริหารบริษัท เทสตี้ ไทย ฯกับ “บิสิเนสไทย” พบว่า ธุรกิจของเทสตี้ ไทย เริ่มขึ้นจากการสำรวจความต้องการของร้านอาหารไทยซึ่งพบว่า ร้านอาหารไทยยังขยายตัวไม่เพียงพอกับแนวโน้มความต้องการของตลาดที่เพิ่มสูงขึ้น ซึ่งขณะนี้มีความต้องการและขยายตัวมาเป็นอันดับหนึ่งแซงหน้าอาหารจีนและอาหารญี่ปุ่น

เกรแฮม บอกว่า อาหารไทยสามารถตอบโจทย์ในสิ่งที่คนทั่วโลกต้องการ เพราะอาหารไทยมีส่วนประกอบของผัก สมุนไพร และการประกอบการอาหารที่ต้องปรุงสดพร้อมเสิร์ฟรับประทานทันที เป็นอาหารที่เหมาะกับกระแสสุขภาพที่มาแรงในปัจจุบัน

ทำให้ทีมผู้บริหารเล็งเห็นโอกาสทางธุรกิจอาหารไทยที่จะเกิดขึ้น จึงสนใจที่จะเริ่มต้นธุรกิจร้านอาหารไทยที่มีแบรนด์ติดตลาดโลก โดยการนำเสนออาหารไทยภายใต้คอนเซ็ปต์ไทยฟาสต์ฟูด หรือเคาน์เตอร์เซลฟ์เซอร์วิสขึ้นภายใต้แบรนด์ "เทสตี้ ไทย" (Tasty Thai)

เทสตี้ ไทย เป็นแฟรนไชส์อาหารไทยจานด่วนแบรนด์แรกของโลก เปิดร้านสาขาแรกในประเทศไทย บนถนน สุรวงศ์ และเตรียมเปิดร้านเพิ่มในเร็วๆนี้ ที่ออสเตรเลีย, สวีเดน และอังกฤษ

แฟรนไชส์เทสตี้ ไทยวางแผนที่จะเปิดร้านเพิ่มให้ได้ถึง 250 ร้านทั่วโลกภายใน 5 ปีข้างหน้า ปัจจุบัน เทสตี้ ไทย มีร้านอาหาร 2 แห่งในสวีเดน และกำลังจะเปิดเพิ่มอีก 2 แห่งในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้านี้ ส่วนอีก 2 ร้านในออสเตรเลียกำลังอยู่ในระหว่างก่อสร้าง สำหรับในประเทศอังกฤษและสหรัฐอเมริกากำลังอยู่ในระหว่างการตัดสินใจเลือกทำเลที่เหมาะสมที่สุด

"ราคาต่ำ"จุดขาย แฟรนไชส์ เทสตี้ ไทย


การลงทุนในเเฟรนไชส์เทสตี้ ไทยนั้น หากเป็นร้านอาหารที่เป็นแฟรนไชส์เดี่ยว (SRF) ราคาอยู่ที่ประมาณ 20,000 ยูโร หรือประมาณ 1,000,000 บาท และแฟรนไชส์ระดับภูมิภาค (MRF) ราคาอยู่ที่ 200,000 ยูโร หรือประมาณ 10,000,000 บาท

เทสตี้ ไทย มีเมนูอาหารกว่า 14 รายการ ยกตัวอย่างเช่นต้มยำ แกงเขียวหวาน ทอดมันปลา ปอเปี๊ยะผัก ต้มข่าไก่ ผัดผัก เป็นต้น โดยขึ้นอยู่กับขนาดและที่ตั้งของร้านนั้นๆ ซึ่งความโดดเด่นของอาหารที่มีเพื่อแข่งขันกับร้านอาหารไทยในต่างประเทศคือ รสชาติของอาหารไทยแท้ๆ รวมถึงวัตถุดิบที่จะมีการส่งจากเมืองไทยไปทั่วโลก โดยไม่มีการใช้วัตถุดิบอื่นๆ แทนเหมือนในร้านอาหารไทยในต่างประเทศบางร้านที่ไม่สามารถหาซื้อวัตถุดิบได้

“เทสตี้ไทย เน้นรสชาติของอาหารไทยแท้ โดยจะมีการจัดการในการส่งวัตถุดิบที่หาไม่ได้ในประเทศนั้นๆ ไปจากเมืองไทย จึงสามารถรักษารสชาติและรูปลักษณ์ของอาหารไทยแท้ๆ ได้”

นอกจากจุดเด่นในเรื่องของรสชาติและวัตถุดิบแล้ว ราคาที่ย่อมเยาว์ก็เป็นอีกหนึ่งจุดแข็งของเทสตี้ ไทย ซึ่งเดิมนั้นการทานอาหารไทยในต่างประเทศถือว่าเป็นอาหารที่หรูหรา และมีค่าใช้จ่ายต่อครั้งค่อนข้างสูง คือเป็นหลัก 1,000-5,000 บาทต่อคนต่อครั้ง

แต่สำหรับเทสตี้ไทยแล้วราคาประมาณ 300-500 บาทต่อคนต่อครั้ง เนื่องจากอาหารที่จำหน่ายเป็นอาหารที่ใช้เวลาทานไม่มาก ทำให้จำนวนของคนเข้าออกร้านจะมีมากกว่าร้านปกติและด้วยราคาที่ไม่แพงมาก จะสามารถสร้างพฤติกรรมการทานอาหารจากเดือนละ 1-2 ครั้งกลายเป็นอาทิตย์ละ1-2 ครั้งได้

“แต่ละเมนูได้รับการทดสอบแล้ว เพื่อสุขภาพที่ดีของลูกค้า ซึ่งรายละเอียดเกี่ยวกับคุณค่าทางโภชนาการที่ลูกค้าได้รับจากอาหารแต่ละรายการนั้น สามารถตรวจสอบได้จากใบเสร็จรับเงิน ดังนั้นลูกค้าสามารถไว้วางใจได้ว่าสามารถรับประทานอาหารไทย และดีสำหรับสุขภาพ” มร. เบรน กล่าวทิ้งท้าย

เสียดายแทนคนไทย
นายพีระพงษ์ กิติเวชโภคาวัฒน์ นายกสมาคมธุรกิจแฟรนไชส์และเอสเอ็มอีไทย หรือ Franchise & Thai SMEs Business Association (FSA) ให้ความเห็นว่า การขยายธุรกิจอาหารไทยแบบเเฟรนไชส์ในเมืองไทยยังถือว่าเป็นเรื่องใหม่ และยังไม่มีการขยายธุรกิจในรูปแบบนี้นัก ที่ผ่านมาก็จะมีร้านอาหารไทยที่เป็นระบบเเฟรนไชส์เริ่มขยายไปยังต่างประเทศบ้างบางส่วน ยกตัวอย่างเช่น กลุ่มโคคา ร้านกาแฟคอฟฟี่ เวิล์ด ร้านบัวบาน เป็นต้น แต่ส่วนใหญ่แล้วรูปแบบการขยายไปต่างประเทศจะเป็นการร่วมทุนกับนักลงทุนประเทศนั้นๆ มากกว่า

การที่ชาวต่างชาติเข้ามาทำเเฟรนไชส์ร้านอาหารไทยถือว่ามีความได้เปรียบคนไทยหลายด้าน ยกตัวอย่างเช่น ชาวต่างชาติจะรู้ถึงความชื่นชอบรสชาติอาหารที่ต้องการอย่างแท้จริงของชาวต่างชาติด้วยกันเอง , เข้าใจระบบการกระจายสาขาของเเฟรนไชส์เป้นอย่างดี และเข้าใจในระบบการวางแผนการทำเเฟรนไชส์มากพอในการดำเนินธุรกิจ

สำหรับคนไทยแล้วการขยายเเฟรนไชส์ไปยังต่างประเทศยังติดขัดในเรื่องของเงินทุน ความรู้ในเรื่องระบบการจัดการที่ดี ขาดความเชื่อมั่นในการดำเนินธุรกิจ เนื่องจากคนไทยยังยึดติดการทำธุรกิจแบบครอบครัวมากเกินไป นอกจากนี้ยังรวมถึงการที่คนไทยยังมองไม่ออกว่าธุรกิจร้านอาหารและธุรกิจบริการสามารถพัฒนาธุรกิจไปยังต่างประเทศได้ จึงเป็นสิ่งที่น่าเสียดายสำหรับคนไทยที่ยังไม่สามารถพัฒนาสินค้าและธุรกิจดีๆ ที่มีอยู่ออกไปยังต่างประเทศได้
อาหารไทยอนาคตใสแจ๋ว
ความต้องการของร้านอาหารไทยในต่างประเทศล้มหลาม ฝรั่งวอร์ทมากกว่าร้านอาหารเชื้อชาติอื่นๆ ในเอเชีย โดยเฉพาะตลาดอเมริการ้านอาหารไทยอนาคตสดใสแน่นอน
สำหรับธุรกิจอาหารไทยในต่างประเทศถือว่าเป็นอาหารชาติหนึ่งที่มีความต้องการอย่างมาก เนื่องจากชาวต่างชาติรู้จักประเทศไทย และอีกเหตุผลหนึ่งคือด้วยกระแสสุขภาพได้ส่งให้อาหารไทยที่มีทั้งผักและสมุนไพรกลายเป็นสิน้าอินกระแสสุขภาพไปด้วย ดังนั้นต้องยอมรับว่าตลาดของร้านอาหารไทยมีขนาดใหญ่และน่าสนใจเป้นอย่างมาก

ยกตัวอย่างในประเทศสหรัฐอเมริกาเพียงประเทศเดียวมีขนาด 5.37 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐฯ โดยคิดเป็นอาหารจานด่วน 1.5 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ทั้งนี้มีการขยายตัว 5% ต่อปี โดยส่วนแบ่งของธุรกิจร้านอาหารคิดเป็น 47% ของเม็ดเงินในธุรกิจอาหารทั้งหมด (และคาดว่าจะเพิ่มเป็น 53% ในปี 2553) ทั้งนี้ ยังพบว่า คนอเมริกันใช้เงิน 2 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อวันกับการบริการอาหารจานด่วน 51% ของการขนส่งของร้านอาหารเป็นการซื้อกลับบ้านหรือโทรสั่งอาหารให้ส่งนอกร้าน

นอกจากนี้ มากกว่า 27% ของผู้บริโภคยังให้ความเห็นว่าพวกเขายังอยากทานอาหารตามร้าน รวมทั้งใช้บริการโทรสั่งอาหารหรือซื้อกลับบ้านมากกว่าที่เป็นอยู่จริง นี่แสดงให้เห็นว่ายังมีความต้องการขนาดใหญ่ของตลาดที่รอการตอบสนองจากร้านอาหารอยู่

ตัวเลขจากสำนักงานส่งเสริมการค้าของไทยในปี 2545 แสดงให้เห็นว่าทั่วโลกมีร้านอาหารไทย 6,537 ร้าน โดย 3,228 ร้านตั้งอยู่ในประเทศสหรัฐ อเมริกาและแคนาดา 1,328 ร้าน ตั้งอยู่ในยุโรป 992 ร้านอยู่ในออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์ 944 ร้าน ในเอเชีย 21 ร้าน ในแอฟริกาใต้ และ 24 ร้านในภูมิภาคอื่นๆ ในจำนวนร้านข้างต้นในสหรัฐอเมริกา 95% เจ้าของเป็นคนไทย ในขณะที่ผู้ประกอบการเป็นเจ้าของเพียง 50% ของร้านในญี่ปุ่น 30% ในอังกฤษและ 25% ในเยอรมนี

อาหารเอเชียเป็นตลาดที่เติบโตเร็วที่สุดในธุรกิจร้านอาหาร และธุรกิจอาหารไทยมีการเจริญเติบโตเร็วที่สุดในกลุ่มนี้ แต่แม้ว่าอาหารไทยจะได้รับความนิยมเป็นอย่างมากร้านอาหารไทยถึง 98% เป็นลักษณะร้านเดี่ยว ไม่มีแบรนด์ที่เป็นที่รู้จักทั่วโลก โดย 92% ของลูกค้าชอบรับประทานอาหารเอเชียจากร้านอาหารมากกว่าปรุงเองที่บ้าน โดยอาหารไทยได้รับความนิยมมากที่สุดเมื่อเทียบกับร้านอาหารจากประเทศอื่นในเอเชีย 50% ของลูกค้าลงความเห้นว่าอาหารไทยดึงดูดใจมาก

จากผลการสำรวจของอเมริกัน คัลลินารี่ เฟดเดอเรชั่น พบว่า 60% ของเชฟ ลงความเห็นว่าอาหารไทยได้รับความนิยมมากที่สุดในปี 2550
กลุ่มลูกค้าอายุน้อยมีความสนใจในอาหารไทย จากตัวเลขเหล่านี้สามารถชี้ชะตาอาหารไทยได้เลยว่ายังเติบโตได้อีกมากในตลาดโลก

อ่านแล้วเสียดายแทนคนไทยไหมครับ....

ไม่มีความคิดเห็น: